Biz news
MONEY20/20ASIAแชร์ข้อมูลเชิงลึก จากงานวิจัยภูมิทัศน์อุตฯฟินเทคล่าสุด
กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, 16มกราคม 2568 - Money20/20มหกรรมงานรวมฟินเทคชั้นนำของโลก เปิดเผยผลจากงานวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมฟินเทคของภูมิภาคเอเชียในอนาคตหรือ The Future of Fintech in APACซึ่งมีความน่าสนใจอย่างมาก ตอกย้ำความยิ่งใหญ่ของภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมเงินและเทคโนโลยีที่กำลังจะก้าวไปข้างหน้า ซึ่งในปีนี้งานมหกรรมทางการเงินที่ยิ่งใหญ่อย่าง Money20/20 Asia พร้อมผงาดสร้างความยิ่งใหญ่กว่าเดิมต่อยอดความสำเร็จจากปีที่แล้วในวันที่ 22-24 เมษายน ปีนี้
ข้อมูลเชิงลึกจากงานวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นถึงภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมของวงการฟินเทคนั้นมาจากการสัมภาษณ์พูดคุย พร้อมการทำแบบสำรวจของกลุ่มบริษัทฟินเทคชั้นนำกว่า 50 บริษัททั่วทวีปเอเชีย ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเชีย ฮ่องกง และอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ข้อมูลจากงานวิจัยเผยให้เห็นว่าบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเกือบหนึ่งในสามราย ประกอบด้วย ธนาคารต่าง ๆบริษัทฟินเทคและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการขยายธุรกิจไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เข้าการวิจัยในครั้งนี้รวมกว่า95% เน้นย้ำถึงการเข้าถึงบริการทางการเงินและกลุ่มบริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ผู้บริโภคและสังคมเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ในภูมิภาคนี้
รายงานมีการสรุปอย่างคร่าวเกี่ยวกับงานวิจัยครั้งนี้ที่ไฮไลท์ถึงศักยภาพของวงการฟินเทคของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคตที่จะขับเคลื่อนผ่านโดยผู้บริโภคในตลาดเพื่อเน้นย้ำให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งนอกจากนี้ยังตรวจสอบแนวโน้มและความท้าทายในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริการลูกค้าและการเข้าถึงทางการเงินทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งมีดังนี้
- ธนาคารต่าง ๆ นำเสนอความล้ำหน้าของอนาคตแก่ผู้บริโภค:ภูมิทัศน์ด้านการธนาคารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะแง่ของการบริการด้านดิจิทัลและรูปแบบดั้งเดิมจากธนาคารที่ต้องตอบโจทย์ผู้บริโภคอย่างแท้จริง ผ่านองค์ประกอบด้านเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและกลยุทธ์ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในตลาดต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม บริการธนาคารแบบไร้สาขานั้นเกิดขึ้นเพื่อมอบประสบการณ์ในการทำธุรกรรมที่เหนือกว่าผ่านการยกระดับการใช้ประโยชน์ของระบบนิเวศทางการเงินและความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ ที่เสริมการเติบโตแม้ว่าจะมีความท้าทายในด้านของกำไรโดยมีเพียง 5% เท่านั้นที่ทำได้สำเร็จทั่วโลก ในขณะเดียวกัน ธนาคารรูปแบบดั้งเดิมกำลังนำโซลูชันที่ล้ำสมัย อย่างเช่น AI, blockchain และ cloud computing มาใช้เพื่อปรับปรุงระบบเดิมให้บริการที่ร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพ และขยายการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า แต่ทว่าสิ่งที่น่าสนใจก็คือ ช่องว่างระหว่างธนาคารดิจิทัลและธนาคารรูปแบบดั้งเดิมกำลังลดน้อยลง เนื่องจากทั้งสองธนาคารนำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ที่คล้ายคลึงมาใช้เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านกฎระเบียบและตอบสนองความต้องการของลูกค้าในระบบนิเวศทางการเงินที่มีความข้องเกี่ยวกันอย่างมาก
- ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผู้นำด้านการชำระเงินทางดิจิทัลและนวัตกรรมข้ามพรมแดน:ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรียกได้ว่าเป็นแนวหน้าของการชำระเงินดิจิทัลด้วยระบบต่างๆเช่นPayNow พร้อมเพย์และ ระบบชำระเงินแบบเรียลไทม์(Unified Payments Interface หรือ UPI) ทำให้เกิดการนำไปใช้อย่างรวดเร็วในปีที่ผ่านมา ภูมิภาคนี้มีการชำระเงินที่ไม่ใช่เงินสดเพิ่มขึ้นถึง20.4% เมื่อเทียบจากอัตราการเติบโตต่อปีถือว่าแซงหน้าทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือไปแล้วการชำระเงินข้ามระหว่างประเทศกำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงผ่านนวัตกรรมฟินเทคโดยมีโครงการริเริ่มเช่นProject Nexus ที่ผนวกระบบการชำระเงินแบบเรียลไทม์เข้ามาอยู่ด้วยจากบริษัทที่ร่วมแบบสอบถามเกือบ1 ใน5 จัดอันดับให้บล็อกเชนเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีชั้นนำที่ส่งผลกระทบต่อฟินเทคในภูมิภาคเอเชียโดยความร่วมมือระหว่าง ธนาคารไทยพาณิชย์กับLightnetและโครงการUbin Phase 5ของสิงคโปร์เป็นตัวอย่างที่บทบาทของบล็อกเชนกำลังปฏิวัติการชำระเงินระหว่างประเทศภูมิทัศน์ด้านกฎระเบียบที่ชัดเจนมากขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหล่านี้มีความสำคัญต่อความก้าวหน้าเหล่านี้แม้จะมีความท้าทายในเรื่องต้นทุนและกฎระเบียบแต่ความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างฟินเทคและธนาคารแบบดั้งเดิมทำให้การชำระเงินนั้นรวดเร็วยิ่งขึ้นและมีค่าใช้จ่ายจับต้องได้มากขึ้นในขณะเดียวกันสกุลเงินดิจิทัลและสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) กำลังปูทางสำหรับโซลูชันการชำระเงินใหม่ทั่วโลก
- การเปลี่ยนแปลงทางการเงินแบบฝังตัวที่มุ่งเน้นไปที่การบูรณาการและประสบการณ์ผู้ใช้งาน:การเงินแบบฝังตัวกำลังเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศฟินเทคของเอเชียผ่านการบูรณาการบริการทางการเงินเข้ากับแพลตฟอร์มด้านอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเงินผู้นำอย่างGCash, Boost และBigPay กำลังปรับปรุงแนวทางในการชำระเงินการกู้ยืมและการเข้าถึงบริการทางธนาคารโดยมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติตามกฎระเบียบซึ่งบริษัทด้านฟินเทคต่าง ๆ กำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยที่ผู้บริโภคพึงได้รับโยกย้ายในทิศทางของโมเดล "ซูเปอร์แอป" การเงินแบบฝังตัวกำลังกลายเป็นเรื่องที่เจาะจงในอุตสาหกรรมมากขึ้นโดยบริษัทฟินเทคต่าง ๆ ร่วมมือกับธนาคารเพื่อพัฒนาโซลูชันที่เหมาะสมตัวอย่างเช่นกระเป๋าเงินดิจิทัลกำลังปรับปรุงธุรกรรมไร้เงินสดในการเรียกใช้บริการรถโดยสารยกระดับความสะดวกสบายและความปลอดภัยเมื่อการพัฒนานั้นลุล่วงแล้วขั้นตอนต่อไปที่จะเกิดขึ้นจะเปลี่ยนจากการพัฒนานวัตกรรมไปสู่การดำเนินงานในแง่ของกิจการร่วมกันโดยเน้นที่การช่วยให้ธุรกิจต่างๆบูรณาการบริการทางการเงินเข้ากับการดำเนินงานของตนได้มากขึ้น
- ความท้าทายเพื่อเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน:รายงานนี้เน้นย้ำถึงอุปสรรคในการเข้าถึงบริการทางการเงินในภูมิภาคเอเชียรวมถึงความรู้ด้านดิจิทัลที่ไม่ได้มีมากนักโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่พร้อมตอบสนองความท้าทายด้านกฎระเบียบต่าง ๆและโมเดลธุรกิจที่ไม่สามารถดำเนินการได้เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงนี้บริษัทที่ร่วมตอบแบบสอบถามเกือบ 20% มุ่งในการวางแผนการขยายตลาด เกือบ 19% มุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์กว่า 15% ให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ และอีก 12% เน้นย้ำในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
คุณ Ian FongAsia Content Director ของ Money 20/20 ได้กล่าวว่า “ข้อมูลที่ค้นพบจากการวิจัยนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของแนวทางที่ยึดความต้องการของผู้บริโภคซึ่งคือหัวใจในการขับเคลื่อนความสำเร็จของอุตสาหกรรมฟินเทค ณ ปัจจุบัน โดยเรากำลังเห็นการเปลี่ยนแปลงที่หน่วยงานกำกับดูแลและธนาคารรูปแบบดั้งเดิมเริ่มพูดคุยและร่วมมือกับผู้เล่นฟินเทคหน้าใหม่ในการยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้พร้อมขยายการเข้าถึงของบริการต่างๆ ให้แก่ลูกค้า ซึ่งเอื้อต่อระบบนิเวศที่ครอบคลุมมากขึ้น”