Think In Truth
จับข้อสงสัย! 'ปัญจวัคคีย์'...มีกี่คนกันแน่? โดย: ฟอนต์ สีดำ

ตามพุทธประวัติที่ถูกถอดมาจากพระสูตรในพระไตรปิฎก พอสรุปได้ว่า เจ้าชายสิทธัตถะได้ศึกษาวิทยวิชาการต่างๆ จาก อาฬารดาบส กาลามโคตร จบไม่มีอะไรจะเรียนแล้วก็ไม่สามารถที่จะทำให้พ้นจากทุกข์ได้ พระองค์จึงออกเดินทางจาริกเพื่อหาทางพ้นทุกข์ โดยมีดาบสทั้งสามเป็นผู้ติดตาม คือ อาสิตาดาบาส อาฬารดาบส และอุทกดาบส เจ้าชายสิทธัตถะได้บำเพ็ญด้วยแนวทางทุกรกิริยา ในขณะที่กำลังบำเพ็ญทุกรกิริยา ก็ได้ยินเสียพิณทิพย์สามสายจากพระอินทร์ ก็สรุปได้ว่า หนทางแห่งการพ้นทุกข์ คือมัฌชิมาปฏิปทา จึงออกจากการบำเพ็ญทุกรกิริยา และหันมารับอาหารที่เป็นข้าวมทุปายาสจากนางสุชาดานำมาถวายรับประทาน ซึ่งเป็นเหตุให้ดาบสทั้งสามหมดซึ่งความศรัทธา เลื่อมไส จึงไม่ได้ติดตามพระองค์ หลังจากที่ได้รับประทานอาหารก็ทำให้วรกายมีเรี่ยวแรง จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานเสี่ยงทายลอยถาดทวนน้ำ และได้ค้นพบหลักแห่งการพ้นทุกข์ คืออริยสัจสี่ ที่ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคมีองค์แปด
หลังจากที่พระองค์ได้ตรัสรู้ในอริยะสัจสี่ พร้อมทั้งได้เสด็จทบทวนสิ่งที่ได้ค้นพบใต้ต้นไม้ 7 ต้น ๆ ละ 7 วัน รวมทั้งหมด 49 วัน ก็เสด็จไปโปรดดาบาสที่ติดตามรับใช้พระองค์ คือปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 คือ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ประเด็นที่เกิดความขัดแย้งเชิงความจริงเชิงประจักษ์ นั่นก็คือ ดาบสผู้ติดตามเจ้าชายสิทธัตถะในการแสวงหาหนทางพ้นทุกข์นั้น มีเพียง 3 ดาบส แต่หลังจากที่พระองค์ทรงตรัสรู้ในอริยสัจสี่แล้ว ก็เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ซึ่งจำนวนก็ต่างกันกับ ดาบาสที่ติดตามพระองค์ ซึ่งมีเพียงแค่สาม
นักพุทธศาสตร์ก็ไม่ได้ให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ ซึ่งก็มุ่งจะอธิบายความตามพระไตรปิฎก โดยขาดความพยายามในการตีความตาม เชาวลักษณ์อักษร ที่เอาความหมายของคำที่ซ่อนอยู่ มาขยายความอย่างแจ่มชัด การถ่ายทอดความจริงในพระสูตรของพระไตรปิฎกจึงมีความไม่ตรงตามความหมายของคำ
ปัญจวัคคีย์ อาจจะไม่ได้หมายถึงหมู่คนเพียง 5 คน ปัญจ แปลว่า 5 วัคคีย์ แปลว่า หมู่คน ดังนั้น ปัญจวัคคีย์ จึงหมายถึง 5 หมู่คน หรือ หมู่คน 5 คน ซึ่งอาจจะเป็นความหมายใดความหมายหนึ่ง ซึ่งถ้าเป็นความหมาย “หมู่คน 5 คน” โดยความหมายนี้ปัญจวัคคีย์ ก็จะมีจำนวน 5 คน ซึ่งถูกต้องตามเนื้อหาในพระไตรปิฎก แต่ถ้าเป็นความหมายว่า “5 หมู่คน” นั้น ปัญจวัคคีย์ อาจจะไม่ใช่ 5 คนแล้ว อาจจะมีมากกว่าก็ได้ ความไม่กระจ่างในการตีความในพระไตรปฏิฎก จึงนำไปสู่การพิจารณา 5 คนที่เป็นปัญจวัคคีย์ เป็นใครกันแน่???.. ผู้เขียนจึงได้นำเอาชื่อของปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คน มาแปลจากภาษาบาลี มาเป็นภาาาไทย เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น และจะได้ใช้หลักแห่ง “เชาวลักษณ์อักษร” มาช่วยในการตีความด้วย ก็ได้ความดังนี้
คนที่หนึ่งชื่อ “พระโกณฑัญญะ” แปลว่า พระตะกร้า คนที่สอง “พระวัปปะ” แปลว่า พระหว่านพืช คนที่สาม “พระภัททิยะ” แปลว่า พระผู้ชาย คนที่สี่ “พระมหานามะ” แปลว่า พระน้อมเข้ามาใส่ตนที่ยิ่งใหญ่ คนที่ห้า “พระอัสสชิ” แปลว่าพระประพฤติดีประพฤติชอบ พิจารณาจากคำแปลของชื่อพระปัญจวัคคีย์ทั้งห้าแล้ว ผู้เขียนก็มองได้ว่า ไม่น่าจะเป็นการเรียกชื่อของคนที่เป็นดาบสหรือนักบวชแต่อย่างได แต่ปัญจวัคคีย์ เป็นการระบุถึงคุณลักษณะนักพรตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด เพื่อสร้างการยอมรับและเป็นพระสาวกในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สมมติฐานที่ผู้เขียนได้ตั้งขึ้นนั้น ก็สอดคล้องกับพระอรหันต์องค์แรกที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา คือ “พระอัญญาโกณฑัญญะ” คำว่า “อัญญา” เป็นคำภาษาอีสานหรือไทยน้อย อัญญา เป็นคำวิเศษขยายนาม ที่แสดงออกถึงการยอมรับ ยกย่อง สรรเสริญ ดังนั้น “อัญญาโกณฑัญญะ” จึงหมายถึง พระผู้ไฝ่รู้ไฝ่เรียน ที่เปรียบเสมือนตะกร้าที่ใส่ความรู้ไม่ยอมเต็ม ก็จะได้รับเป็นพระอรหันต์ ระดับแรก ดังนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะ จึงเป็นพระอรหันต์องค์แรกหรือระดับแรกในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นคุณลักษณะของการไฝ่รู้ ส่วน พระวัปปะ เป็นคุณลักษณะประหนึ่งพระที่มีความรู้และหมั่นในการถ่ายทอดความรู้เสมือนหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งพระพุทธศาสนา ให้ได้เจริญงอกงามกระจายออกไป พระภัททิยะ เป็นเสมือนเป็นข้อบัญญัติไว้ชัดว่า พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานั้นจะต้องเป็นผู้ชาย กรณีเรื่องของพระภิกษุณี นั้นถือว่าเป็นข้อกำหนดขึ้นมาภายหลัง ซึ่งไม่ได้บัญญัติไว้ในสมัยพุทธกาล แต่อย่างได ซึ่งปัจจุบันพุทธสมาคมในประเทศไทยก็ไม่อนุญาตให้สตรีได้ผนวชในพระพุทธศาสนา พระมหานามะ นั้นคือการน้อมนำพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเข้ามาใส่ตน และ พระอัสสชิ คือคุณสมบัติของหมู่คนที่ประพฤติดี ประพฤติชอบ ด้วยกาย วาจา และใจ ดังนั้นหมู่คนที่เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีคุณสมบัติห้าประการ คือ 1. เป็นผู้ไฝ่รู้ในพระธรรมของพระพุทธศสนา 2. เป็นผู้หมั่นเพียรในการสืบทอดและถ่ายทอดพระธรรมในพุทธศาสนาด้วยความมุ่งมั่นและเมตตา 3. มีเพศบรรพชิตเป็นชายเท่านั้น 4. เป็นผู้ที่น้อมรับเอาพระธรรมในพุทธสาสนาเข้ามาใส่ตน และ 5. เป็นผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ ด้วยกาย วาจา และใจ
ปัญจวัคคีย์จึงไม่ได้หมายถึงดาบสผู้ติดตามที่เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 คน แต่หมายถึงดาบส 3พวก คืออสิตาดาบส ซึ่งหมายถึงนักพรตที่บำเพ็ญเพียรในไสยศาสตร์ เพราะ อสิตา แปลว่า มืด ดำ มืดมัว อาฬารดาบส ซึ่งหมายถึงนักพรตที่เอาทุกๆ สาขาแห่งศาสตร์ มาศึกษาโดยไม่เชื่อในศาสตร์ไดๆ ด้วยความงมงาย เพราะ อาฬาร แปลว่าพ่อครัว หรือนักผสมปรุงแต่อาหาร และในพระไตรปิฎกระบุว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปศึกษาวิชาจาก อาฬารดาบาส กาลามโคตร ซึ่ง กาลามโคตร แปลว่า รากเหง้าแห่งความไม่เชื่อทั้งสิบ และเป็นที่มาของ กาลามสูตรสิบนั่นเอง และอีกดาบสกลุ่มที่สาม คือ อุทกดาบส ซึ่ง อุทก แปลว่าน้ำ หรือของเหลว อุทกดาบส จึงหมายถึง นักพรตผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติตามผู้ที่ป็นอาจารย์ตนเป็นศิษย์อยู่ ดังนั้น ดาบสทั้งสามพวก จึงไม่ได้มีแค่สามคน แต่มีในจำนวนที่ประเมินไม่ได้ ซึ่งอาจจะมากกว่าสามคนมาก แต่ในหมู่ดาบสนั้นก็จะแบ่งประเภทดาบสออกได้สามกลุ่มนั่นเอง
ดาบสที่ติดตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกแสวงหาทางพ้นทุกข์ ได้แยกตัวมาบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน คำว่า “อิสิป” แปลว่า นักพรต ฤาษี นักบวช “ปตน” แปลว่ารก ทึบ “มฤค” แปลว่ากวาง “ทายวัน” แปลว่าไม่ไผ่ ถ้านำมารวมกันเป็น ป่าอิสปตนมฤคทายวัน จึงแปลว่า ป่าไผ่ที่รกทึบที่มีนักพรตและกวาง ดังนั้นการที่เป็นสำนักดาบสที่มีทั้งผู้มีอภิญญาสูง ที่เรียกว่า อสิตาดาบส ผู้ที่ผนวกเอาศาสตร์ต่างๆมาศึกษา ด้วยการผสมสาน ที่เรียกว่า อาฬารดาบส และผู้ที่กำลังศึกษาตามคำสอนของดาบสผู้มีอภิญญาสูง และผู้ที่ศึกษาอย่างบูรณาการในหลายๆ ศาสตร์ ที่เรียกว่า อุทกดาบส ก็สามารถประเมินได้ว่า ในป่าแห่งนี้ไม่น่าจะมีเพียง 5 คน ตามที่ในพระไตรปิฎกได้ตีความไว้
มันเป็นความเสียดายที่ประเทศไทย มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่คนไทยไม่สามารถจะเข้าใจในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาได้อย่างแท้จริง เพราะมีรัฐมนตรีกระทรวงศึกษา นายบุญสม มาติน ซึ่งเป็นผู้ที่ยกเลิกการสอนภาษาบาลีในสถานศึกษาออกไป คนไทยจึงเป็นพุทธศาสนิกชนเพียงในบัตรประจำตัวประชาชน โดยไม่รู้ไม่เข้าใจในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เมื่อคนไทยไม่ได้เข้าใจในหลักแห่งพระพุทธศาสนาที่แท้จริงก็จะหลงงมงายในคำสอนของพระผู้ใหญ่ที่เราเรียกกันว่า “เถรวาท” ซึ่งเคยถูกเรียกลัทธินี้ว่า “หินยาน” ซึ่งแปลว่าลัทธิชั่ว จากการกำหนดจากลัทธิมหายาน ที่พยายามจะเคลมตนเองเป็นกำเนิดแห่งพุทธศาสนา ที่มาจากอินเดีย ทั้งที่ สัญญาลักษณ์แห่งธรรมจักรกัปวัตนสูตร ที่ปรากฏอยู่ในที่ต่างๆ นั้น เป็นล้อเกวียนที่มีซี่ล้อเกวียนมากกว่าแปดซี่ ซึ่งถูกค้นพบคู่กับพระคาถาเย ธัมมา ซึ่งมีเนื้อหาคล้ายกันกับ พระคาถาธรรมจักรกัปวัตนสูตร แต่บทสวดที่แตกต่างกันอย่างลิบลับ
คนไทยที่ผมเองเชื่อว่าพวกเราทั้งหลายเป็นลูกหลานเชื้อสายพระพุทธเจ้า เนื่องจากวันวิสาขบูชาพระจันทร์เต็มดวงที่เมืองไทย ไม่ได้เต็มดวงที่อินเดีย ได้ถูกนำเอาความเชื่ออื่นเข้ามาปะปนในคำสอนพระพุทธศาสนา นำพิธีกรรมต่างๆ มาสร้างรายได้ด้วยข้ออ้างในการพัฒนาวัดวาอาราม โดยไม่ได้อธิบายถึงความจริง มัวแต่มุ่งครอบงำให้ชาวพุทธหลงงมงายในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ใช่หลักธรรมของพระพุทศาสนา ที่จะเป็นเครื่องชี้ทางพ้นทุกข์แก่พุทธบริษัท พวกเรามาค้นหาความจริงกันเถอะ ด้วยการถอดแว่นตาดำที่เขาเขียนเรื่องราวต่างไว้พรางตาพวกเรา แล้วค้นหาความจริงในทุกมิติกันใหม่ ที่เป็นสัจจะแห่งความเป็นจริง ที่จะบ่งบอกตัวตนของพวกเรา ที่พวกเรานับถือพุทธศาสนาลัทธิสิทธัตถะ ไม่ใช่เถระวาท แต่เราใช้กระบวนการถ่ายทอดลัทธิสิทธัตถะด้วยกระบวนการเถระวาท ในการสืบทอดพระพุทธศาสนา