Travel Sport & Soft Power
สีสัน!แข่งน่ำไร่ปลูกข้าวไร่ดอกข่าพังงา
พังงา-สนุกสนุกและฮาแข่งน่ำไร่ปลูกข้าวไร่ดอกข่า พร้อมชิมการแปรรูปของกินอร่อยๆจากข้าวไร่จีไอของจังหวัดพังงา
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 ที่บ้านนาใน ม.2 ต.บางทอง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา นายนพสิทธิ์ อุดมสุวรรณกุล ปลัดจังหวัดพังงา เป็นประธานเปิดงานประชาสัมพันธ์ข้าวไร่พันธุ์ดอกข่า โดยมีการมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ดอกข่า ให้กับตัวแทนกลุ่มเกษตรกร พร้อมมอบบรรจุภัณฑ์ใส่ข้าวไว้จำหน่ายให้กับสหกรณ์การเกษตร และร่วมชิมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวไร่ดอกข่า มีทั้งขนมครกโบราณข้าวดอกข่า ขนมโคข้าวดอกข่า ข้าวยำโบราณข้าวดอกข่า โจ๊กข้าวดอกข่า และผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องและข้าวสาร ซึ่งได้รับเสียงชื่นชมจากผู้ร่วมกิจกรรมเป็นอย่างมาก
สำหรับกิจกรรมที่เป็นไฮไลท์ของงานวันนี้คือการแข่งขันน่ำไร่ ซึ่งเป็นวิธีการปลูกข้าวไร่แบบโบราณโดยฝ่ายผู้ชายจะใช้ไม้ยาวๆ เหลาโคนให้แหลมแล้วแทงไปตามพื้นที่ปลูกข้าวเรียงหน้ากันไป หรือเรียกกันว่าการ “แทงสัก” ด้านฝ่ายหญิงจะนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เตรียมไว้ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ แล้วเอาไปหยอดในหลุมที่แทงไว้หลุมละ 2-3 เม็ด จากนั้นก็จะใช้ส่วนท้ายของกระบอกไม้ไผ่กดดินปิดปากหลุม ซึ่งการแข่งขันคร้งนี้มีทีมตัวแทนจากเกษตรกรส่งเข้าร่วมการแข่งขันรวม6ทีม ทีมละ2คนชาย-หญิง โดยได้แบ่งเป็นพื้นที่การแข่งขันเป็น6ช่องความกว้าง1.5เมตร ความยาว80เมตร ให้ฝ่ายผู้ชายแทงสักนำไปข้างหน้าฝ่ายผู้หญิงหยอดข้าวลงหลุมตาม ไป-กลับ1รอบ วัดการแพ้ชนะด้วยทีมไหนแทงสักเร็วและคนหยอดหยอดข้าวได้ครบสมบูรณ์ ซึ่งมีการลุ้นและเชียร์กันอย่างสนุกสนานโดยไม่กลัวว่าคนแข่งขันจะเป็นลม โดยทีมที่ชนะเลิศคือทีมบางทอง1 จากอำเภอท้ายเหมือง ขณะที่ทีมอันดับ3 มีคุณป้ารับรางวัลแล้ว ออกลีลารำโชว์อย่าสนุกสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับปลัดจังหวัดพังงาและนายอำเภอท้ายเหมืองที่ร่วมปรบมือเชียร์
นายประคอง อุสาห์มัน เกษตรจังหวัดพังงา เปิดเผยว่า ข้าวไร่ดอกข่าหรือข้าวดอกข่า เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองเฉพาะถิ่นที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพังงา ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ตำบลบางทอง อ.ท้ายเหมือง เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองคุณภาพดีสายพันธุ์ดั้งเดิมที่ปลูกสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มากกว่า 100 ปี นิยมปลูกข้าวไร่แซมในระหว่างแถวยางพารา และปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม่จนถึงอายุ 3 ปี มีลักษณะพิเศษคือ เป็นข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองที่มีความต้านทานต่อโรคเมล็ดยาวสีของเมล็ดข้าวสารมีสีน้ำตาลแดงอมม่วง เมื่อสุกจะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบเตย รสชาติอร่อย ข้าวไม่แข็ง หุงขึ้นหม้อกรมการข้าวได้เก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ดอกข่าเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ และพิจารณารับรองเมล็ดพันธุ์ข้าวในชื่อ“ข้าวไร่พันธุ์ดอกข่า 50” เมื่อปี 2560 ทั้งนี้ด้วยความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดพังงา“ข้าวไร่พันธุ์ดอกข่า 50” จึงได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563 โดยใช้ชื่อ “ข้าวไร่ดอกข่าพังงา”
โดยจังหวัดพังงาได้อนุมัติงบประมาณให้สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงาดำเนินโครงการส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวไร่พันธุ์ดอกข่า สินค้า GI จังหวัดพังงา สร้างคลังอาหารภายในชุมชน ตามโครงการเงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19