In Global
บทวิเคราะห์สหรัฐอเมริกาเสียเปรียบเพราะขาดดุลการค้าจริงหรือ?

วันที่ 12 พฤษภาคมที่ผ่านมา การเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่กรุงเจนีวาได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ได้บรรลุข้อตกลงสำคัญ และในวันที่ 14 พฤษภาคม ทั้งสองฝ่ายได้ปรับลดภาษีนำเข้าระหว่างกันลงอย่างมาก ความคืบหน้าครั้งสำคัญนี้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของสองประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อจีนและสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกโดยรวมด้วย ประชาคมระหว่างประเทศจึงได้แสดงความยินดีและชื่นชมอย่างกว้างขวาง
ข้อเท็จจริงพิสูจน์ให้เห็นอีกครั้งว่า การยึดมั่นในแนวคิดการค้าเสรีและการรักษาระบบการค้าพหุภาคีเท่านั้น จึงจะสามารถสร้างความแน่นนอนและเสถียรภาพให้แก่การพัฒนาของทั่วโลกได้
นับตั้งแต่ต้นปีนี้ รัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐอเมริกาได้เริ่มเก็บหรือขู่จะเก็บภาษีศุลกากรในวงกว้างต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยให้เหตุผลว่า “สหรัฐอเมริกามีปัญหาขาดดุลการค้าสินค้าเป็นเวลานาน” และ “ต้องการให้อุตสาหกรรมการผลิตกลับคืนสู่ประเทศ”
แต่สหรัฐอเมริกาเสียเปรียบจากการขาดดุลการค้าจริงหรือ? ความจริง คือ การขาดดุลการค้าไม่เพียงไม่ทำให้สหรัฐอเมริกาเสียเปรียบหรือได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจ ตรงกันข้ามกลับทำให้สหรัฐอเมริกาได้ประโยชน์มหาศาลมาโดยตลอด เหตุพราะหลังสงครามโลกครั้งที่สองสหรัฐอเมริกาเป็นหลักในการออกระเบียบเศรษฐกิจโลกและระบบการค้าพหุภาคี ทั้งยังเป็นผู้ได้ประโยชน์สูงสุดจากระบบเหล่านี้ เพราะกระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจและการค้าเสรีทำให้สหรัฐอเมริกาสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนระหว่างประเทศที่มีต้นทุนต่ำได้อย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้บริษัทอเมริกันสามารถจัดสรรทรัพยากรทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยิ่งช่วยให้ประชาชนอเมริกันทั่วไปสามารถบริโภคสินค้าจากทั้วโลกที่มีคุณภาพดีในราคาย่อมเยา นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินสำรองของโลกยังได้มอบ “อภิสิทธิ์เกินควร” ให้แก่สหรัฐอเมริกาอีกด้วย
ส่วนความพยายามของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่จะผลักดันให้ภาคการผลิตกลับคืนประเทศด้วยมาตรการเชิงบังคับนั้น ก็ถูกมองกันโดยทั่วไปว่าไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในการสร้างงานให้ประชาชนอเมริกันและยากที่ประสบความสำเร็จได้ แม้สหรัฐอเมริกาจะต้องการสร้างงานให้กับประชาชนบางกลุ่มที่ระดับชีวิตแทบไม่ดีขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เกิดจากการที่ภาคการผลิตถูกย้ายไปต่างประเทศ แต่เกิดจากการที่สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นประเทศที่ปกครองโดยกลุ่มคนร่ำรวย ซึ่งผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดได้ไหลเข้าสู่ชนชั้นเศรษฐี นอกจากนี้ ภาคการผลิตต้องพึ่งพาระบบนิเวศทางอุตสาหกรรมที่ครบวงจร แต่ในปัจจุบันสหรัฐอเมริกาขาดความพร้อมในหลากหลายด้านแล้ว
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า แก่นของแรงจูงใจที่ทำให้สหรัฐอเมริกาจุดชนวนสงครามการค้าคือการรักษาอำนาจการครองโลกของตนเอง แต่นโยบายที่ใช้นั้นตั้งอยู่บนการประเมินศักยภาพของจีนผิดพลาด ประเมินความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจตนเองสูงเกินจริง และการแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองภายในระยะสั้น หากสหรัฐอเมริกายังคงยืนกรานที่จะดำเนินสงครามการค้าต่อไป ในระยะยาวจะทำให้ประเทศตกอยู่ในวงจรเลวร้ายอันได้แก่ “ลัทธิกีดกัน – ต้นทุนสูงขึ้น-ความสามารถในการแข่งขันลดลง” การใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบกดขี่ เช่น การทำสงครามภาษีและการปิดกั้นทางเทคโนโลยี โดยยกผลประโยชน์ของตนเองเหนือผลประโยชน์ร่วมกันของนานาประเทศ ถือเป็น “การขับรถย้อนศรประวัติศาสตร์” และยิ่งจะเร่งทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศ ลัทธิฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างได้ ความร่วมมือแบบได้ประโยชน์ร่วมกันเท่านั้นจึงเป็นหนทางเดียวแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน สหรัฐอเมริกาควรรับฟังเสียงคัดค้านจากประชาคมโลกและเสียงที่มีเหตุผลภายในประเทศ ยุติแนวทางที่ผิดพลาดและกลับคืนสู่แนวทางการค้าเสรีและความร่วมมือแบบวิน-วิน ซึ่งเป็นทางเลือกที่ถูกต้องสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเอง
เขียนโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)