Digitel Tech & AI
แคสเปอร์สกี้ชี้ไตรมาสแรกสกัดไซเบอร์ เซิร์ฟเวอร์ถูกโจมตีในไทย192แสนครั้ง

กรุงเทพฯ-แคสเปอร์สกี้ตรวจพบเหตุการณ์อันตรายทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์อยู่ในประเทศไทยที่ถูกละเมิดแคสเปอร์สกี้บล็อกเหตุการณ์จำนวน191,909ครั้งในไตรมาสแรกของปี2025 (มกราคม-มีนาคม) ซึ่งเพิ่มขึ้น21.51%เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีเพียง157,935ครั้ง
สถิติของประเทศไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในไตรมาสแรกของปี2021มีเหตุการณ์ที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์อยู่ไทยจำนวน32,739 ครั้งและพุ่งสูงสุดในไตรมาสแรกของปีนี้ที่191,909 ครั้ง
นอกจากนี้รายงานไตรมาสแรกของแคสเปอร์สกี้ได้แสดงให้เห็นว่าในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สิงคโปร์มียอดเหตุการณ์อันตรายที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ในประเทศที่ถูกบุกรุกมากที่สุดถึง6,313,833 ครั้งและเป็นอันดับ5 ของโลก
ผู้ก่อภัยคุกคามใช้เซิร์ฟเวอร์ที่ถูกบุกรุกเพื่อโฮสต์เว็บไซต์และส่งมัลแวร์ให้กับผู้ใช้ที่ไม่ทันระมัดระวังเหยื่อจะถูกนำไปยังเว็บไซต์ผ่านโฆษณาปลอมลิงก์ฟิชชิ่งในอีเมลSMS และแผนการอันตรายอื่นๆหลังจากนั้นคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ของเหยื่อจะถูกสแกนเพื่อหาช่องโหว่และใช้ประโยชน์เมื่อผู้ใช้พบกับภัยคุกคามออนไลน์โซลูชันของแคสเปอร์สกี้จะตรวจจับแหล่งที่มาของภัยคุกคามตำแหน่งของวัตถุและบล็อกภัยคุกคามดังกล่าว
การละเมิดข้อมูลเป็นประเด็นข่าวที่ถูกพูดถึงบ่อยครั้งในปี2025ประเทศไทยประสบกับเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลและการขายข้อมูลส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งภาครัฐและเอกชนบริษัทที่มีชื่อเสียงของไทยหลายแห่งประสบกับการละเมิดความเป็นส่วนตัวรวมถึงห้างสรรพสินค้ากลุ่มปิโตรเลียมบริษัทโลจิสติกส์และบริการไปรษณีย์ของประเทศ
คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย (PDPC) ได้จัดตั้งศูนย์‘PDPC Eagle Eye Center’ซึ่งทำงานอย่างใกล้ชิดกับ‘Cyber Eye Center’ของตำรวจไซเบอร์เพื่อติดตามการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลการซื้อขายในตลาดมืดและการบังคับใช้กฎหมายอย่างรวดเร็วความร่วมมือครั้งนี้ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความตระหนักรู้และกำหนดบรรทัดฐานทางสังคมว่าการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเป็นความผิดร้ายแรงที่ควรดำเนินคดีตามกฎหมาย
นายเอเดรียนเฮียกรรมการผู้จัดการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ตลาดความปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทยขับเคลื่อนโดยการขยายตัวอย่างรวดเร็วของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและความต้องการโซลูชันความปลอดภัยไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้น คาดว่ารายได้ของตลาดจะสูงถึง 404.60 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025 ไม่ต้องสงสัยเลยว่าอาชญากรไซเบอร์ตระหนักถึงเรื่องนี้และใช้ประโยชน์จากการเติบโตดังกล่าวโดยใช้กลยุทธ์และเครื่องมือที่ซับซ้อนมากขึ้น”
นายเอเดรียนกล่าวเสริมว่า “อย่างไรก็ตาม ยังมีตัวบ่งชี้เชิงบวกของความก้าวหน้าและกลยุทธ์ที่มั่นคงของประเทศไทยรายงานเดียวกันนี้เผยให้เห็นว่าโซลูชันความปลอดภัยไซเบอร์เป็นกลุ่มที่ครองตลาดของประเทศ โดยคาดการณ์มูลค่าตลาดที่ไว้ที่ 247.53 ล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ นอกจากนี้ การประสานงานและการทำงานร่วมกันจากทุกภาคส่วน เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมสํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(สคส.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังส่งเสริมความปลอดภัยไซเบอร์และนำไปสู่อนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นของประเทศไทย”
แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำองค์กรและบริษัททุกขนาดดำเนินการดังต่อไปนี้เพื่อปกป้องระบบของตนจากการบุกรุกและการละเมิดข้อมูล
- ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่เข้มงวดรวมถึงการใช้ไฟร์วอลล์ระบบตรวจจับการบุกรุกและซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยไซเบอร์เช่นKaspersky Nextเพื่อปกป้องอุปกรณ์เอ็นด์พ้อยต์
- สำรองข้อมูลเป็นประจำในกรณีที่เกิดการบุกรุกการสำรองข้อมูลจะทำให้สามารถกู้คืนไฟล์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าไถ่
- อัปเดตซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้เพื่อป้องกันผู้โจมตีจากการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่และแทรกซึมเครือข่าย
- สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ควรพิจารณาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งขึ้นโดยตั้งศูนย์ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยโดยใช้เครื่องมือSIEM (การจัดการข้อมูลและเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย) เช่นKaspersky Unified Monitoring and Analysis Platform (KUMA)ซึ่งเป็นคอนโซลรวมสำหรับตรวจสอบและวิเคราะห์เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของข้อมูลและโซลูชันอย่าง Kaspersky Next EDR Expertซึ่งเป็นโซลูชันรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่แข็งแกร่งซึ่งป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ที่ซับซ้อน
- การให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับความปลอดภัยไซเบอร์ผ่านเครื่องมือเช่นKaspersky Automated Security Awareness Platformพนักงานควรตระหนักถึงความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์และวิธีการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงต่างๆ