In Thailand
ยอดโควิดพุ่ง!!รับ'อนุทิน'เยี่ยมปราจีนบุรี เร่งผุดรพ.สนามเพิ่มอีก3แห่ง
ปราจีนบุรี- ปราจีนฯโควิด-19 ยังพุ่งสร้าง รพ.สนามเพิ่มอีก 3แห่งรอรับรองนายกและรมว.สธ.และ รมว.ศธ.รีบมาดูแลเตรียมพร้อม พบ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศรยังเดินหน้าแจกฟ้าทะลายโจร-มะขามป้อมให้ประชาชน-รักษาโควิด-19
เมื่อเวลา 18.00 น.วันนี้ 5 ส.ค.64 ผู้สื่อข่าวประจำ จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า สถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 หลังจากจังหวัดปราจีนบุรี เป็น 1ใน 29 จังหวัด ในพื้นที่เข้มงวดสูงสุด หรือสีแดงเข้ม ระบาดอย่างรวดเร็ว สถานการณ์ล่าสุด (4ส.ค.) พบผู้ติดเชื้อโควิด -19 ระลอก เมษายน 2564 เพิ่ม จำนวน 128 ราย สะสมรวม 3,779 ราย รักษาอยู่โรงพยาบาล 2,493 ราย รักษานอกเขต 8 ราย พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 28 ราย ผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านสะสม 1,250 ราย ส่งตรวจสะสมระลอก เมษายน 2564 จำนวน 448 ราย (ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 9 ราย ตรวจคัดกรองเชิงรุก 439 ราย) รวมส่งตรวจระลอก เมษายน 2564 สะสมทั้งหมด 62,951 ราย โดยการติดตามสถานการณ์การระบาดที่มีลักษณะเป็นActive 14 clusters ใน 6 อำเภอ ที่มีผู้ป่วยใหม่ ในช่วง 14 วัน Cluster บริษัทไทยแอโรว์ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา จำนวน259(+4)ราย เทศบาลเมืองปราจีนบุรี จำนวน131ราย แพปลา/แพกุ้ง อ.บ้านสร้าง จำนวน97ราย บริษัท ทีพีวี (เชื่อมโยงหอพักลี โอ) จำนวน90ราย บริษัท พีบี ไพ (ไทยแลนด์ จำกัด จำนวน78(+1)ราย (ระลอกใหม่) ตลาดหน้าค่ายจักรพงษ์ จำนวน68(+5)ราย บริษัทไฮเออร์ อีเล็คทริค (ประเทศไทย) จำนวน 58 ราย จำกัด (มหาชน) บริษัท SMS - Lenzing ท่าตูม จำนวน 49+(4)ราย ค่ายทหาร (ร2 พัน3 รอ./ม.พัน2) เชื่อมโยง จำนวน 36ราย กทม. ร้านขายอาหารและผลไม้ในแคนทีน จำนวน 25 จำแนกตามอาชีพ ช่วง ๑ เมษายน ๒๕๖๔ - ๓ สิงหาคม ๒๕๖๔ พนักงานบริษัท บุคลากรทางการแพทย์รับจ้างทั่วไป ว่างงานนักเรียน/นักศึกษา ธุรกิจส่วนตัวก่อสร้าง ขับรถสาธารณะ ค้าขาย ครู ผู้สูงอายุ อื่นๆ รับราชการ เสริมสวย / ตัดผม ในปกครอง (0-6 ปี) พนักงานธนาคาร แม่บ้าน ผู้ต้องขัง เกษตรกร ราย ล่าสุดทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี (อบจ.) ได้ตั้ง รพ.สนามรองรับผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มอีก 3 แห่ง นั้น
วันนี้ 5 สิงหาคม 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ ผู้ติดเชื้อโควิด 19 และได้ตรวจเยี่ยม พื้นที่โรงพยาบาลสนามแห่งใหม่ 2 แห่งของจังหวัดปราจีนบุรี ได้แก่ โรงพยาบาลสนาม อบจ.ปราจีนบุรีประชารักษ์ และโรงพยาบาลสนามอภัยภูเบศรประชารักษ์ เพื่อรองรับยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
ส่งผลให้ขณะนี้ จ.ปราจีนบุรีมีมีโรงพยาบาลสนามอยู่ทั้งสิ้น 8 แห่ง ได้แก่ 1. โรงพยาบาลสนามกองร้อยต่อสู้รถถังที่ 2 ค่ายพรหมโยธี รองรับผู้ป่วย 90 เตียง 2. โรงพยาบาลสนามกบินทร์บุรีประชารักษ์ รองรับผู้ป่วย 210 เตียง 3. โรงพยาบาลสนามประจันตคามประชารักษ์ รองรับผู้ป่วย 165 เตียง 4. โรงพยาบาลสนามศรีโพธิมาลัย รองรับผู้ป่วย 180 เตียง 5. โรงพยาบาลสนามบ้านสร้างศรีรักษ์ รองรับผู้ป่วย 70 เตียง 6. โรงพยาบาลนาดีประชารักษ์ รองรับผู้ป่วย 100 เตียง 7. โรงพยาบาลสนามอภัยภูเบศรประชารักษ์ รองรับผู้ป่วย 100 เตียง และ 8. โรงพยาบาลสนาม อบจ.ปราจีนบุรีประชารักษ์ รองรับผู้ป่วย 223 เตียง
นายอนุทิน กล่าวว่า การเดินทางมาครั้งนี้ เพื่อดูการเตรียมความพร้อม และการวางแผนระบบของโรงพยาบาลสนามที่สร้างขึ้นจากความร่วมมือของหลายภาคส่วนในจังหวัดปราจีนบุรี ในการรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด19 กลุ่มสีเขียวเข้มถึงสีเหลือง โดยวัตถุประสงค์เพื่อลดการแออัดในโรงพยาบาล ช่วยแยกผู้ติดเชื้อออกจากคนไม่ติดเชื้อ ลดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน ส่วนเรื่องอุปกรณ์เวชภัณฑ์ และชุดป้องกันสำหรับบุคลากรที่ดูแลผู้ติดเชื้อ ที่มีการรายงานว่าขาดแคลนนั้น ก็ขอให้จัดการหามาได้เลย เนื่องจากกระทรวงฯมีงบประมาณที่สามารถดำเนินการได้อยู่แล้ว
รมว.สาธารณสุข กล่าวต่อไปด้วยว่า โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นต้นแบบในการจัดสรรเตียงได้ดี และดูแลผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเพียง 10 จึงกลับบ้านได้ และทราบว่าทางโรงพยาบาลฯ ได้ให้ยาฟ้าทะลายโจรแก่ผู้ป่วยทุกคน และเนื่องจากเป็นผู้ผลิตที่มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับอย่างสูง จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรของอภัยภูเบศรขาดแคลน จนทำให้มีผู้ผลิตยาปลอม ลอกเลียนแบบออกมาจัดจำหน่ายในท้องตลาดอย่างต่อเนื่อง จึงอยากให้จังหวัดปราจีนบุรี เร่งปลูก เพื่อให้เพียงพอกับการผลิต และผลักดันเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคต ในส่วนของยาฟาวิพาราเวียร์ ก็ไม่ต้องกังวล ตนได้สั่งการให้เร่งผลิตและนำเข้ามาให้เพียงพอต่อเดือนที่ใช้เกือบ 40 ล้านเม็ด หรือใช้วันละประมาณ 1 ล้านเม็ด
สำหรับ ยอดผู้ติดเชื้อสะสม ของจังหวัดปราจีนบุรี ตั้งแต่ 1 เมษายน 2564 รวม 3,910 ราย เป็นสัญชาติไทย 3,540 ราย และ สัญชาติอื่นๆอีก 370 ราย รักษาหายแล้วสะสมรวม 1,267 ราย จังหวัดได้จัดบริการ พื้นที่ในชุมชนเพื่อแยกตัวผู้ติดเชื้อออกจากครอบครัว รวมถึงผู้ป่วยที่แยกตัวอยู่บ้าน ในกลุ่มผู้ติดเชื้อสีเขียว ไม่มีอาการ ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวรวม 210 ราย จากการติดตามสถานการณ์การระบาดที่มีลักษณะเป็นActive 14 clusters ใน 6 อำเภอ ที่มีผู้ป่วยใหม่ ในช่วง 14 วัน Cluster บริษัทไทยแอโรว์ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา จำนวน259(+4)ราย เทศบาลเมืองปราจีนบุรี จำนวน131ราย แพปลา/แพกุ้ง อ.บ้านสร้าง จำนวน97ราย บริษัท ทีพีวี (เชื่อมโยงหอพักลี โอ) จำนวน90ราย บริษัท พีบี ไพ (ไทยแลนด์ จำกัด จำนวน78(+1)ราย (ระลอกใหม่) ตลาดหน้าค่ายจักรพงษ์ จำนวน68(+5)ราย บริษัทไฮเออร์ อีเล็คทริค (ประเทศไทย) จำนวน 58 ราย จำกัด (มหาชน) บริษัท SMS - Lenzing ท่าตูม จำนวน 49+(4)ราย ค่ายทหาร (ร2 พัน3 รอ./ม.พัน2) เชื่อมโยง จำนวน 36ราย กทม. ร้านขายอาหารและผลไม้ในแคนทีน จำนวน 25
ด้านแพทย์หญิงโศรยา ธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า โรงพยาบาลฯ ได้มีการบูรณาการใช้การรักษาแบบคู่ขนาน โดยใช้ฟ้าทะลายโจรเป็นยาพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยทุกราย ที่ไม่มีข้อจำกัดหรือข้อห้ามใช้ เช่น ในหญิงตั้งครรภ์ให้นมบุตร ผู้ที่แพ้ฟ้าทะลายโจร และเด็กที่อายุน้อยกว่า 4 ปี โดยใช้ร่วมกับยาบรรเทาอาการอื่น เช่น ยาแก้ไอมะขามป้อม และยาแผนปัจจุบันตามอาการ
มานิตย์ สนับบุญ/ปราจีนบุรี