In News

ชุมชนจันทร์แสงสุขขอเขตลาดกระบังช่วยที'น้ำท่วม-ถนนพัง'เดือดร้อนอย่างหนัก



กรุงเทพฯ-ชุมชจันทร์แสงสุข ไกลปืนเที่ยง ชาวบ้านครวญ ภาครัฐเมินดูแล ขนส่งทางบก รวมเขตลาดกระบัง ไม่เคยลงพื้นที่ที่สอดส่องความเดือดร้อน

จากการรวมตัวเพื่อประท้วง ปัญหาน้ำท่วมถนน ของชาวบ้านชุมชนจันทร์แสงสุก ซอยมอเตอร์สเวย์ 35 ติดสถานี ขนส่งสินค้า 3 ร่มเกล้า ซึ่งก ากับดูแลโดย สำนักการขนส่งสินค้า กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ส านักงานเขต ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ไม่เคยลงมาดูแลความเดือดร้อน สิ่งแวดล้อม เกิดจากปัญหา น้ำท่วมขัง ปัญหาฝุ่นละออง และปัญหาเสียงรถบรรทุกวิ่งเกินเวลาภายในสถานี ตลอดจนปัญหาการจราจรที่เข้าออก คลังศุลกากร ICD ท าให้เกิด ปัญหาการจราจรติดขัดต่อเนื่อง หน้าสถานีขนส่งสินค้า กลายเป็นผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของชาวบ้าน ชุมชน จันทร์แสงสุก เป็นเวลานานมาก

นายสุจินต์ บุรินทร์สุชาติ ผู้นำชุมชนจันทร์แสงสุขนำตัวแทนชาวบ้านกว่าร้อยครอบครัว ร้องเรียนผ่านสื่อมวลชน ได้รับผลกระทบ จากปัญหาน ้าท่วม ถนนพัง ไฟส่องสว่างไม่มี และกระทบต่อเสียงมลภาวะต่างๆ จนเหลือทน ในบริเวณ ดังกล่าว มีลานวางตู้สินค้าอยู่หลายบริษัท ให้ความช่วยเหลือเป็นที่พอใจในระดับหนึ่ง แต่ปัญหาทั้งหลายทั้งปวง ภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นสถานีขนส่งสินค้า และเขตลาดกระบัง มิได้ลงมาดูแลแก้ไข ทางชุมฃนได้ส่งหนังสือลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2540 ร้องขอถนนและระบบสาธารณูปโภครอบโครงการสถานีขนส่งสินค้าร่มเกล้า ถึง นายพงศกร เลาหวิเฃียร ฮธิบดี กรมการชนส่งทางบกในขณะน้้น และมีหนังสือตอบมาร่วม 3 ข้อโดยสรุป มีประเด็นในเรื่องก่อสร้างถนนโดยรอบโครงการ กว้างประมาณ 5 เมตร เพื่อให้ประฃาชนแข้าออกได้ เมื่อก่อสร้างแล้วส่งมอบให้กรุงเทพมหานครเพื่อใช้เป็นทาง สาธารณะ และเรื่องการป้องกันมลพิษจากสถานีฯ มีการกำหนดคูคลอง บ่อบ าบัดน ้าเสีย การตรวจสอบมลภาวะจาก รถยนต์ โดยจะมีการตรวจสอบ วัดผลและติดตามระดับมลภาวะเป็นประจำและครั้งคราว

ต่อมามีหนังสือ ที่ คค 0410/ 9448 ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2555 โดยนายวัฒนา พัทรชนม์ รองอธิบดี กรมการขนส่งทางบก ถึงผู้อำนวยการสำนักงานเขตลาดกระบัง เรื่องขอมอบถนนรอบสถานีขนส่งสินค้าร่มเกล้า แต่ก็ไม่ได้รับการเข้ามาฃ่วยเหลือ ดูแลประชาชนในพื้นที่ จากหน่วยงานใดของภาครัฐ ทั้งกระทรวงคมนาคมและกรุงเทพมหานคร หน้าฝน น้ำแอ่อล้นมาจากลำคูคลองภายในสถานี การติดต่อประสานงานเป็นไปด้วยความลำบากเพราะ ระดับหัวหน้าสถานีมาอยู่ ไม่นานก็ไป เหมือนเป็นทางผ่านหาผลงานพื่อขึ้นขนส่งจังหวัด และไม่มีการลงพพื้นที่เยี่ยมเยียนประชาชนในชุมชน สอบถาม สารทุกข์สุขดิบ ซึ่งเป็นไปตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการเยียวช่วยเหลือจากปัญหามลพิษ สิ่งแวดล้อม การสร้างการกอนดีอยู่ดีฉบับที่ 12 ถนนหนทางระบบสาธารณูปโภคอยู่ระดับต่ำกว่าคคำว่าพอเพียง ต้องใช้คำว่าเกินทน

อีกทั้งได้พยายามติดต่อส านักงานเขตลาดกระบัง ได้บ่ายเบี่ยงในการตอบคำถามของชุมชน ซึ่งถือได้ว่า กรุงเทพมหานครไม่มีเจตนาในการขจัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชนในชุมชนโดยแท้สุภาษิตโบราณกล่าวว่า ไกลปืนเที่ยง ภาครัฐไม่ห่วงใยสวัสดิภาพประชาชน และคุณภาพฃีวิตของคนเมือแกนนำชุมชนจันทร์แสงสุขกล่าวทิ้งท้าย

ไหนจะเรื่องปัญหาไวรัลโควิด-19 ไหนจะเรื่องปากท้องของประชาชน ไหนจะ เรื่องถนนน้ำท่วม เป็นหลุมเป็นบ่อ ลูกเด็กเล็กแดงจะเดินทางไปเรียนหนังสือ คนแก่เฒ่า คนป่วยจะเดินทางไปหาหมอก็ ลำบาก ไหนจะปัญหาเสียงรถจากภายในสถานี วอนภาครัฐฃ่วยลงมาดูแลประชาชนในพื้นที่บ้าง ประชาชนอยู่อาศัยมา มากกว่า 30 ปีอย่างไรก็ดี ชาวบ้านคงจะรวมตัวยื่นฟ้องตามกระบวนการโดยเริ่มที่ศาลปกครองต่อไป ถ้ายังมิได้รับ การฃ่วยเหลือในส่วนของภาครัฐ อย่าให้เป็นเมืองชายขอบ