Digitel Tech & Innovation

วว-สสน.-สทนช.วิจัยผลผลิตการเกษตร เพิ่มมูลค่าจากน้ำของชุมชน



กรุงเทพฯ-กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาผลผลิตการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าจากน้ำของชุมชน” ภายใต้การดำเนินโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำ ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2567 ณ อาคาร 60 ปี ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประยุกต์สู่ SMEs วว. เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

โอกาสนี้ ดร.อาภากร สุปัญญา  รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม วว.ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการว่า  ทั้งสามหน่วยงานดำเนินงานร่วมกันภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดอบรมดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เกษตรกรมีน้ำพอเพียงสำหรับทำเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่และวนเกษตร มีการรวมกลุ่มวางแผนการผลิตได้ตลอดปี รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรในการนำผลผลิตมาพัฒนาแปรรูป อาทิ กลุ่มอาหาร กลุ่มสมุนไพรและเครื่องสำอาง รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ เพื่อยกระดับให้ได้รับรองมาตรฐานสินค้าผลผลิตทางการเกษตร โอกาสนี้  นายณรงค์ศักดิ์ พิมพ์พรรณชาติ นักบริหารนโยบายวิจัยและพัฒนา สสน.  นางพัชรวีร์ สุวรรณิก ที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สทนช.  และ ดร.โสภาพรรณ  สัญญาณเสนาะ ผอ.สำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม วว. เข้าร่วมกิจกรรมด้วย (ในวันที่ 30 ก.ค. 2567)

“ วว. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) มีพันธกิจหลัก ในการวิจัยพัฒนา และบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างคุณค่า มูลค่าเพิ่ม ให้กับเศรษฐกิจประเทศ ตอบสนองการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ความรู้ ความสามารถ ที่เป็นพันธกิจหลัก ร่วมมือกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ ในการส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำและพัฒนาศักยภาพของชุมชนและเกษตรกร เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรไทย โดยกิจกรรมภายใต้การดำเนินโครงการนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชน เกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจ เกิดการเรียนรู้ ในการยกระดับผลผลิตการเกษตร พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมรับรองมาตรฐานที่ตลาดกำหนด ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตต่อไปอย่างยั่งยื่น”รองผู้ว่าการ วว. กล่าว

สำหรับกิจกรรมการอบรมตลอดทั้งสามวันประกอบด้วย การบรรยายถ่ายทอดความรู้  1) การจัดทำผังน้ำระดับตำบลและการบริหารทรัพยากรน้ำของตำบล 2) นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร 3) งานวิจัยเพื่อพัฒนาและแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ผัก ผลไม้ สมุนไพร และอัตลักษณ์และ 4) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการสื่อสารเพื่อการตลาด branding  รวมทั้งการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบตลอดอดปีของชุมชนและการสนับสนุนของท้องถิ่นการฝึกปฏิบัติและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการบริหารทรัพยากรน้ำของตำบลเพื่อวางแผนการผลิตนำไปสู่การแปรรูปผลผลิตการเกษตรตลอดทั้งปีการฝึกปฏิบัติการแปรรูปผลิตภัณฑ์ตามแนวทางของผลผลิตทางทางการเกษตรได้แก่ การพัฒนากระบวนการผลิตอาหารแปรรูปเนื้อแห้งอบกรอบการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารแปรรูปแหนมจากเห็ดโคนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการขยายผลการพัฒนาผลผลิตการเกษตรและผลิตภาพน้ำในระดับตำบล

รวมทั้งการศึกษาดูงานด้านโครงสร้างพื้นฐานของ วว. ได้แก่  โรงงานต้นแบบการผลิตผักทอดกรอบศูนย์นวัดกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรมอาหาร (ICPIM2; สารชีวภัณฑ์)ครัวแบ่งปันโรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร (FISP)ศูนย์บริการนวัตกรรมเวชสำอางแบบครบวงจร (ICOS)นอกจากนั้นจะมีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมและสิ่งที่จะนำไปต่อยอดขยายผลต่อไป