Biz news

วันการศึกษาสากลชวนสถานศึกษาไทย เสริมอาหารจากพืช'มื้อนี้เพื่ออนาคต'



กรุงเทพฯ- 24 มกราคม 2565: สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้มีมติให้วันที่ 24 มกราคมของทุกปี เป็นวันการศึกษาสากล เพื่อเน้นย้ำถึงบทบาทของการศึกษาว่าเป็น “สิทธิมนุษยชน ทรัพย์สินสาธารณะและความรับผิดชอบของสาธารณะ”

แม้ว่าวิชาต่างๆ อย่างคณิตศาสตร์และประวัติศาสตร์จะยังคงเป็นวิชาบังคับในหลักสูตร แต่หลายโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็กำลังคิดค้นและหาวิธีสอนนักเรียนวิชาใหม่ๆ ผ่านการเข้าร่วมโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคตโดยมีเป้าหมายคือการเสิร์ฟอาหารจากพืชในโรงอาหารอย่างน้อยหนึ่งวันต่อสัปดาห์ และการให้ความรู้แก่นักเรียน

อาจารย์ และพ่อครัวเกี่ยวกับการเลือกอาหารของเราว่าส่งผลกระทบต่อโลกรอบตัวอย่างไร รวมถึงความสำคัญของการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

“สถานศึกษามีบทบาทสำคัญในการหล่อหลอมคนรุ่นต่อไป รวมไปถึงการแสดงตัวอย่างที่ดีที่แต่ละคนสามารถปฏิบัติได้จริงเพื่อสร้างความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น” คุณจันจรี เชียรวิชัย ผู้จัดการโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคตในประเทศไทยกล่าวซิเนอร์เจีย แอนิมอล องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งทำงานในทวีปลาตินอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลักเป็นองค์กรที่อยู่เบื้องหลังโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต โครงการดังกล่าวให้การสนับสนุนสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการเข้าร่วมผ่านการให้คำแนะคำจากนักกำหนดอาหาร รวมไปถึงการจัดเวิร์คช็อปและกิจกรรมทำอาหารโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น “เป้าหมายของเราเรียบง่ายมาก เราต้องการผลักดันให้สถานศึกษาจัดหาอาหารที่ทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และดีต่อสุขภาพมากขึ้นให้กับนักเรียนและบุคลากร ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ” คุณจันจรีอธิบาย

โครงการมื้อนี้เพื่ออนาคตมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมากมายให้การดูแล เช่น นักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ และพ่อครัวซึ่งคอยให้คำแนะนำองค์กรภาครัฐและเอกชนในการวางแผน การอบรม และให้การสนับสนุนโดยตรงในการเปลี่ยนแปลงเมนูอาหาร

นับตั้งแต่โครงการเปิดตัวในปี 2019 สถานศึกษา 17 แห่งทั่วโลกได้เข้าร่วมโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต และในปี 2021โครงการก็ได้เปิดตัวในประเทศไทย โดยมีศักยภาพที่จะทดแทนมื้ออาหารเนื้อสัตว์กว่า 1.1 ล้านมื้อด้วยเมนูจากพืชตัวอย่างเมนูใหม่คือ ต้มข่าหัวปลีและก๋วยเตี๋ยวคั่วเห็ด

“การบริโภคอาหารจากพืชเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่จะรักษาสุขภาพและโลกของเรา” คุณจันจรีกล่าว “ซึ่งเราสามารถทำทั้งสองอย่างได้พร้อมๆ ไปกับการเพิ่มรสชาติใหม่ๆ ผ่านมื้ออาหารที่อร่อยและถูกหลักโภชนาการตามความชื่นชอบและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ”

การบริโภคผักมากขึ้นและการลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ที่พบได้บ่อยอย่าง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานชนิดที่สอง และมะเร็งหลายชนิด

นอกจากนี้เนื้อวัวและเนื้อไก่ยังถูกพบว่ามีความเชื่อมโยงกับ ภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้บ่อย เช่น โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ หรือโรคถุงน้ำดี เป็นต้น

อาหารจากพืชไม่เพียงแต่จะดีต่อสุขภาพมากกว่า การทดแทนมื้ออาหารเนื้อสัตว์ด้วยเมนูจากพืชยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า รวมถึงอนุรักษ์และปกป้องแหล่งน้ำต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญ “นี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดที่เรากำลังเผชิญในปัจจุบัน” คุณจันจรีกล่าว

“สถานศึกษาหลายแห่งกำลังทำงานร่วมกันเพื่อสร้างรูปแบบอาหารใหม่ด้วยการนำเสนออาหารจากพืชมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างผลประโยชน์ของมนุษยชาติและสร้างความยั่งยืนให้แก่อนาคตของโลก พร้อมๆ ไปกับการจัดหาอาหารในแบบที่ทุกคนชอบรับประทานให้กับนักเรียนและบุคลากร” คุณจันจรีกล่าว

สถานศึกษาและนักเรียนที่สนใจสามารถเยี่ยมชมและลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ nourishingtomorrowthai.org/เพื่อเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ