In Thailand

ถกรับฟังสภาพปัญหา-หารือช้างป่าบุกรุก ทำลายทรัพย์สิน-พื้ชผลชาวปราจีนบุรี



ปราจีนบุรี-ประชุมรับฟังสภาพปัญหาและหารือกรณีช้างป่าบุกรุกทำลายทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตรของราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี

เมื่อ  28 มกราคม 2565 เวลา 09.30 น. ผู้สื่อข่าวจ.ปราจีนบุรีรายงานว่า   พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรี ประธานบริหารมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานการประชุมรับฟังสภาพปัญหาและหารือกรณีช้างป่าบุกรุกทำลายทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตรของราษฎรในพื้นที่อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

 กรณีช้างป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนจ.ฉะเชิงเทรา (ในพื้นที่ป่าราบต่ำผืนสุดท้ายในพื้นที่รอยต่อ5จังหวัดภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา จ.สระแก้ว,จ.ชลบุรี,จ.จันทบุรีและจ.ระยอง)  เข้ามาหากินในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี 

โดยมีราษฎรที่ได้รับผลกระทบฯ เข้าร่วมประชุม ณหอประชุมโรงเรียนบ้านเขาไม้แก้ว ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยมี นายวร​พันธุ์​ สุวัณณุสส์ ผู้​ว่าราชการ​จังหวัด​ปราจีนบุรี พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องถิ่น และผู้แทนประชาชนในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับและเข้าร่วมประชุม ซึ่ง ผู้เข้าร่วมประชุมหารือ

ทั้งหมด ได้รับการตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ ATK ทุกคน
   

  โดยประธานบริหารงาน มูลนิธิ ได้บรรยายพิเศษเกี่ยวกับมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ และรับฟังสภาพปัญหา ความคิดเห็นและหารือร่วมกันกับผู้แทนราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าบุกรุก เพื่อร่วมกันหาแนวทางป้องกันและแก้ไข ได้แก่ องค์ความรู้ในการผลักดันช้างอย่างถูกวิธี 

การชดเชยเยียวยาค่าเสียหายให้กับเกษตรกร ในด้านพืชผลทางการเกษตร ที่พักอาศัย อุปกรณ์การเกษตร ที่ได้รับความเสียหาย ฯลฯ

ต่อมา พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท และผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ได้ร่วมมอบนมจืดให้แก่โรงเรียนเขาไม้แก้ว เพื่อนำไปมอบให้แก่เด็กนักเรียน รวมทั้งได้ปลูกต้นรวงผึ้ง เยี่ยมชมแปลงปลูกผักอินทรีย์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาไม้แก้ว 

และเดินทางไปดูสภาพพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากช้างป่าบุกรุก ที่บ้านโปร่งสะเดา ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยได้ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รับฟังปัญหาและผลกระทบจาก ราษฎรที่ได้รับผลกระทบ พร้อม ให้กำลังใจและให้คำแนะนำในด้านการป้องกันและแก้ไขในเบื้องต้น และได้มอบนโยบายให้กับหน่วยงานในพื้นที่หาแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะยาวต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อไปว่าช้างป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน  จ.ฉะเชิงเทรา  เข้ามาหากินและทำลายพืชผลของเกษตรกรนานร่วม 2 เดือน    สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรเกือบหลายร้อยรายในพื้นที่ 2 ตำบลได้แก่ ต.วังท่าช้าง ต.เขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี   ในส่วน อ.ศรีมหาโพธิช้างป่าบุกรุกทำลายพืชผลของเกษตรกรเสียหายน้อยกว่าอ.กบินทร์บุรี

 ทั้งนี้ประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่ารายวัน นาข้าวข้าวโพด ไร่อ้อยฯ สร้างความหวาดผวาให้กับประชาชนอย่างมาก ขณะเดียวกันทางชุดผลักดันช้างป่าฯอ่างฤาไนได้ลงพื้นที่ผลักดันช้างป่าในคราวเดียวกัน

 โอกาสนี้ได้แนะนำส่วนเร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยเร็วแนะจิตอาสาเข้ามามีส่วนผลักดันช้างป่าร่วมกับเจ้าหน้าที่ควบคู่ไปด้วยขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือกรณีช้างป่า

1.เมื่อพบเห็นช้างเข้ามาในพื้นที่ ให้ราษฎรแจ้งกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในเบื้องต้น
2.ภาพช้างป่าทำให้เกิดความเสียหาย แก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ให้กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน แจ้งส่งการปกครองส่วนท้องถิ่นแผ่นพื้นที่(อบต.เทศบาล) เพื่อดำเนินการต่อไป

การให้การช่วยเหลือประชาชนดังนี้ 
1.บ้านได้รับความเสียหายจะได้รับการช่วยเหลือ เป็นค่าซ่อมแซมวัสดุที่อาศัยประจำ เท่าที่จ่ายจริงครั้งละไม่เกิน 49,500 บาท 2.ยุ้งข้าว โรงเรือนเก็บพืชผลทางการเกษตร คอกสัตว์ ได้รับความเสียหาย เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน5,700 บาท 3.ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ หรือเงินทุนสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติที่เป็นอาชีพหลักในการหาเลี้ยงครอบครัวของผู้ประสบภัยพิบัติที่ได้รับความเสียหายเท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 11,000บาท 

4.ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
4.1กรณีบาดเจ็บสาหัสต้องรักษาในสถานพยาบาลตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นเงิน4,000บาท
4.2กรณีบาดเจ็บถึงขั้นพิการไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติได้ให้ช่วยเหลือ เป็นเงิน 13,000บาท
5.ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต รายละไม่เกิน 29,700 บาท

กรณีพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย
1.เกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับหน่วยงานที่ดูแลและจะต้องขึ้นทะเบียนก่อนเกิดภัยพิบัติแล้วเท่านั้น
2.พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายอย่างสิ้นเชิง
3.ให้ความช่วยเหลือตามจำนวนพื้นที่ที่เพาะปลูกเสียหายจริงไม่เกินรายละ30ไร่
โดยมีอัตราดังนี้ นาข้าว1,113บ./ไร่ พืชไร่1,148บ./ไร่ พืชสวนอื่นๆ 1,690บ./ไร่

เบอร์ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศูนย์สายด่วนพิทักษ์ป่าโทร.1362สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดปราจีนบุรี 037-454-326-7สนง.งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปราจีนบุรี โทร.037-454-417-20ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าสำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1(ปราจีนบุรี) 037-211-140ต่อ602 ส่วนอุทยานแห่งชาติสํานักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1(ปราจีนบุรี)037-211-140ต่อ701,702

ชุดเคลื่อนที่เร็วเฝ้าระวังติดตามช้างป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน 061-378-2243ชุดเคลื่อนที่เร็วเฝ้าระวังติดตามช้างป่าอุทยานแห่งชาติทับลานโทร.095-208-0383สามารถโทรแจ้งเบอร์โทรศัพท์ดังกล่าวได้ทันที

และรายงานเพิ่มเติมว่า  อนึ่ง   ช้างป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนจ.ฉะเชิงเทราในพื้นที่ป่าราบต่ำพื้นสุดท้ายในป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออกประกอบด้วยจ. ฉะเชิงเทรา จ. สระแก้ว จ. จันทบุรี จ. ชลบุรี จ. ระยอง  ได้ข้ามเขตจากถิ่นที่อยู่ประจำข้ามมาหากินไกลในพื้นที่ 2 อำเภอคือ อ.ศรีมหาโพธิและ อ. กบินทร์บุรี จ. ปราจีนบุรีอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี    พบมีทั้งยกโขลงครั้งละจำนวนมากกว่า 100,70,50, 30 ตัวหรือแยกฝูงเข้ามาหากินโดยปีนี้ข้ามฝั่งมามากและยาวนานจนเกือบจะเป็นช้างป่าประจำถิ่น ผลักดันออก อย่างไรก็กลับคืนมาเคยมีปัญหาคนตายเสียชีวิตถูกช้างเหยียบช้างป่าตาบ-บากเจ็บจากข้ามถนน  ช้างถูกไฟช็อตตายและทำลายพืชผลเป็นต้น

มานิตย์   สนับบุญ/ปราจีนบุรี