In Thailand

ลอบทิ้งของเสียอีกพื้นที่ต.หาดนางแก้ว



ปราจีนบุรี-ทุกข์ชาวบ้าน ใช้ช่วงสงกรานต์ ลอบทิ้งของเสียอีกพื้นที่ ต.หาดนางแก้ว  อ.กบินทร์ ที่ยังคาราคาซังเรื่อง สารซีเซี่ยม -137

เมื่อเวลา 21.00 น.วันนี้  ๑๘ เมษายน ๒๕๖๖ ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานพบมีการโพสต์ในกลุ่มไลน์ของเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน  จ.ปราจีนบุรี (ทสม.)  โดยผู้ใช้คือนายสุนทร  หรือเกษตรแหม  คมคาย อายุ 49 ปี  แกนนำเกษตรอินทรีย์/เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน  อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี (ทสม.) และ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.ปราจีนบุรี (สส.) เขตเลือกตั้งที่ 3 พรรคก้าวไกล (กก.)    ระบุเป็นเอกสารข้อความ    แบบรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (ศปก.พล.)  กรมควบคุมมลพิษ   ศปก.พล. ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน กรณีลักลอบทิ้งของเสียบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงโรงงาน ของบริษัท ไบรท์ไฮเวย์ยิปซั่ม ๙๕๖ จำกัด ตำบลหาดนางแก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

ระบุข้อความ – รายละเอียดว่า    ...     ศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยกองตรวจมลพิษ และ   สำนักงานสิ่งแวดล้อมและ ควบคุมมลพิษที่ ๗ (สระบุรี) ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหาดนางแก้ว สารวัตรกำนันตำบลหาดนางแก้ว ผู้แทนบริษัท ไบรท์ไฮเวย์ยิปซั่ม ๙๕๖ จำกัด และผู้ร้องเรียน ลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีลักลอบทิ้งของเสียบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงโรงงานของ บริษัท ไบรท์ไฮเวย์ยิปซั่ม ๕๕๖ จำกัด หมู่ที่ ๖ ตำบลหาดนางแก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี สรุปได้ดังนี้

พื้นที่ที่มีการลักลอบทิ้งของเสียอยู่บริเวณใกล้เคียงพื้นที่โรงงานของบริษัท ไบรท์ไฮเวย์ยิปซั่ม ๕๕๖ จำกัด มีลักษณะ เป็นบ่อดินเก่า ซึ่งผู้แทนบริษัทฯ แจ้งว่า บ่อดินดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่บริษัทฯ เช่าไว้ แต่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์พื้นที่ดังกล่าว ๒. ผู้ร้องเรียนแจ้งว่า เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๖ พบรถขนส่งของบริษัท จงธนาพิพัฒน์ จำกัด หมายเลขทะเบียน ๘๖-๒๔๙๓ สุพรรณบุรี ได้ทำการทิ้งของเสียบริเวณบ่อดินดังกล่าว

จากการสอบถามบริษัท จงธนาพิพัฒน์ จำกัด ได้รับแจ้งว่า รถขนส่งคันดังกล่าวเป็นรถบรรทุกปูนซีเมนต์ชนิดผง ซึ่งโดยปกติจะถ่ายผงปูนซีเมนต์ที่ตกค้างในรถทิ้งในช่วงเปลี่ยนชนิดปูนซีเมนต์ และจะดำเนินการบริเวณแพล้นปูนซีเมนต์ เท่านั้น โดยอยู่ระหว่างสอบสวนพนักงานขับรถบรรทุกคันดังกล่าว แต่เนื่องจากบริษัทฯ อยู่ในช่วงหยุดเทศกาลสงกรานต์ หากสอบสวนแล้วเสร็จจะแจ้งให้กองตรวจมลพิษทราบโดยเร็วต่อไป

กองตรวจมลพิษได้เก็บตัวอย่างของเสียซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีเทาคล้ายปูนซีเมนต์/ขี้เถ้า มาตรวจสอบ จำนวน ๑ ตัวอย่าง จากการตรวจสอบเบื้องต้น มีค่า pH เท่ากับ ๑๒ เป็นด่างแก่ และได้เก็บตัวอย่างน้ำในบ่อดิน จำนวน ๑ ตัวอย่าง มาตรวจสอบ จากการตรวจสอบเบื้องต้น มีค่า pH เท่ากับ ๑๐.๖ และได้ส่งตัวอย่างวิเคราะห์ยังห้องปฏิบัติการด้วยแล้ว    

ผู้แทนบริษัท ไบรท์ไฮเวย์ยิปซั่ม ๙๕๖ จำกัด แจ้งว่า ไม่ทราบเรื่องที่มีการนำของเสียมาทิ้งในบ่อดินดังกล่าว และจะไป ลงบันทึกประจำวันเพื่อเป็นหลักฐานที่สถานีตำรวจภูธรสระบัว   และ   หากเป็นของเสียจากโรงงานจะไปแจ้งความดำเนินคดีต่อไป     ทั้งนี้ หากผลการตรวจวิเคราะห์ของเสียและน้ำแล้วเสร็จ ศปก.พล. จะแจ้งผลการตรวจสอบไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ และแจ้งผู้ร้องเรียนทราบต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม  ทั้งนี้พื้นที่ ต.หาดนางแก้ว อ.กบินทร์บุรีเมื่อเร็ว ๆ  ได้มีการตรวจสอบพบสารกัมมันตรังสี ซีเซี่ยม -137 ในโรงหลอมเหล็ก   หลังจากที่มีวัสดุกัมมันตรังสีหลุดหายจากโรงไฟฟ้า ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ  ก่อนหน้านี้ที่เรื่องยังไม่จบ

ในหลายภาคส่วน  ต้องการให้ทางหน่วยราชการตรวจสอบ – ชี้ชัดถึงความปลอดภัยเกี่ยวกับสารซีเซี่ยม – 137   อาทิ ล่าสุด    นายจำรูญ สวยดี   ผู้ได้รับมอบหมายรับผิดชอบถอดความ/เขียนรายงาน ในนามผู้จัดเวที เครือข่าย อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านจังหวัดปราจีนบุรี (ทสม.) และ เครือข่ายภาคประชาสังคมและองค์กรชุมชนปราจีนบุรี   ได้รายงานสรุปเวทีสาธารณะเรื่อง    เราจะออกจากวิกฤตกัมมันตภาพรังสีปราจีนบุรีกันอย่างไร ?  จัดเมื่อ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณ ลานวัดศรีโพธิมาลัย ตา บลท่าตูม อา เภอศรีมหาโพธิ เวทีเสวนา   เราจะออกจากวิกฤตกัมมันตภาพรังสีปราจีนบุรีกันอย่างไร

ที่เกิดจากความร่วมมือของเครือข่ายอาสาสมัคร พิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน ( ทสม.) ร่วมกับ ภาคประชาสังคมและองค์กรชุมชน ปราจีนบุรี โดยการสนับสนุนของ ส านักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดปราจีนบุรี     การเสวนาครั้งนี้มีภาคราชการ เอกชน องค์กรชุมชน นักวิชาการ ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น โดยเฉพาะ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกรณี “ซีเซี่ยม 137” หายไปจากโรงไฟฟ้า รวมถึงประชาชนทั้งในจังหวัด ปราจีนบุรี และบางส่วนจากนครนายก ฉะเชิงเทรา ระยอง ร่วมให้ข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็นจำนวนประมาณ 80 คน    ได้ระดมความคิดแลกเปลี่ยนและกล่าวถึง ผลกระทบ ข้อกังวล และความห่วงใย ทั้งได้รับฟังหลักคิด เพื่อหาทางออกจากวิกฤต และ ร่วมกันเสนอการขับเคลื่อนไปข้างหน้า

นายจำรูญ   ได้สรุปข้อเสนอทางออกจากวิกฤตปราจีนต้องรอด ดังนี้     การขับเคลื่อน 1) กำหนดหมุดหมายข้างหน้า หรือเป็นทิศทางแผนพัฒนา สร้างปราจีนบุรีปลอดภัยจากมลพิษทุกพื้นที่ 2) ยกระดับการเฝ้าระวังป้องกันและฟื้นฟูที่ยั่งยืน โดยให้มีกลไกจังหวัดเฝ้าระวัง ป้องกัน และฟื้นฟู คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็ง ในส่วนพื้นที่ชุมชนท้องถิ่น ให้มีกลไกการมีส่วนร่วมเฝ้าระวังและป้องกันและติดตามระดับพื้นที่ โดยใช้หลัก Check & Balance ประกอบด้วยชุมชน+ประกอบการ+ท้องถิ่น 3) มีแผนที่(Mapping)แหล่งการใช้อุปกรณ์กัมมันตภาพรังสีที่เป็นปัจจุบันชัดเจน เผยแพร่กระจายให้ ชุมชนรับรู้ เป็นสาธารณะทั่วไป 4) ส่งเสริมการเข้าถึงข่าวสาร/ความรู้สร้างพลังการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งยกระดับการขับเคลื่อนกับ ภาครัฐด้วยความรู้สึกเจ้าของจังหวัด ไม่ใช่เพียงผู้รอรับการบริการ 5) ใช้โอกาสตื่นรู้จับมือทุกภาคส่วนขับเคลื่อน “เดินหน้าต่อ” ด้วยการปรึกษาหารืออย่างต่อเนื่อง ร่วมคืน ความเชื่อมั่น สร้างความตระหนัก สร้างการเรียนรู้และปฏิบัติการร่วม 6) โรงไฟฟ้าต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบ  และ พูดความจริงเพื่อลดความคลุมเครือ 7) พัฒนากองทุนเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ทั้งมีความเห็นพ้องกันว่า เวทีความรู้และวิชาการแบบวงเสวนาครั้งนี้ ควรมีต่อไป เพื่อประโยชน์สาธารณะ

มานิตย์   สนับบุญ / ปราจีนบุรี