EDU Research & ESG
มทร.อีสานจับมือกองทัพภาค2เสริมแกร่ง ทางวิชาการวิจัยและนวัตกรรม
นครราชสีมา-วันนี้ (25 ก.ค.66) เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมแคนา 1-2 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอนก เจริญภักดี รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ นโยบายและแผน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง กองทัพบก พลตรี อดุลย์ บุญธรรมเจริญ รองแม่ทัพภาคที่ 2 และคณะผู้บริหารกองทัพภาคที่ 2
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้เข้าหารือแนวทางการจัดทำความร่วมมือ ระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กับ กองทัพภาคที่ 2 นำมาซึ่งการผสานความร่วมทางวิชาการในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันในการพัฒนาศักยภาพกำลังพล และประชาชนภาคอีสาน ให้เป็นกำลังแรงงานคุณภาพสูง โดยจัดทำหลักสูตรระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ผ่านการบริการด้านวิชาการทั้ง Up/Re/New Skills ตลอดจนการนำศักยภาพของแต่ละฝ่าย เช่น ผลงานวิจัย นวัตกรรม ทรัพยากรบุคคล สถานที่ และอุปกรณ์และเครื่องมือ มาหนุนเสริมซึ่งกันและกันในทุกมิติ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของพี่น้องประชนภาคอีสานให้มีความกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืนสืบไป
รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ที่เน้นการสร้างนักปฏิบัติทักษะสูง (Hands On) นวัตกร และผู้ประกอบการ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีพลังการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมีวิทยาเขตกระจายอยู่ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จัดการเรียนการสอนระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา 15 คณะ 1 สถาบัน มีหลักสูตรบูรณาการที่จัดการเรียนการสอนผ่านระบบ modular system จำนวนกว่า 180 หลักสูตรและมีหลักสูตรระยะสั้น Up Skill Re Skill และ New Skill เพื่อปรับปรุงพัฒนาและสร้างแรงงานฝีมือสมรรถนะสูง ที่ได้มาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานสากล เช่น Meister KOSEN BTEC CDIO ที่สามารถถ่ายโอนหน่วยกิตและสะสมในธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) เพื่อขอรับใบปริญญาได้ ซึ่งรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning, LLL) นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรที่สร้างบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกว่า 230 หลักสูตร จัดการเรียนการสอนด้วยระบบ (RMUTI Learning Management System : RMUTI-LMS) เพื่อสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ผสานกับการฝึกฝนทักษะด้วยการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการ เพื่อความพร้อมในการทำงานจริง โดย มทร.อีสาน ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2565 ถึง 2569) ซึ่งมุ่งเน้นพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม การบริการวิชาการ และการสร้างผู้ประกอบการ มีจุดมุ่งเน้น 3 Cluster ได้แก่
1) ด้าน Logistics ประกอบด้วย ระบบราง (Rail System), อากาศยาน (Aviation), โลจิสติกส์ (Logistics), ยานยนต์ไฟฟ้า/ พลังงานที่ยั่งยืน (EV/Sustainable Energy) และ หุ่นยนต์/ระบบอัตโนมัติ/เอไอ (Robotics/Automation/AI)
2) ด้าน Agriculture Technology & Food Security ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change (Carbon Neutrality, Net Zero GHG Emission)), วิกฤตทางอาหาร (Food Crisis (Organic Food, Functional Food, Future Food)) และ เกษตรสมัยใหม่ (Agriculture (Organic, Smart Farm, Offseason, Water Management))
3) ด้าน Health & Tourism ประกอบด้วย สุขภาพแบบองค์รวม (Wellness (Herbal Product, Cosmetic Spa, Alternative Medicine for Aging Society, Medical Tools)) และ การท่องเที่ยว(Tourism) ด้วยศักยภาพด้านวิชาการ เทคโนโลยี และกำลังคน มทร.อีสาน จึงเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมในการผสานความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ สร้างสังคมที่ดี เศรษฐกิจที่ดี สร้างความกินดี อยู่ดี ของประชาชนภาคอีสาน รวมถึงการเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศบนพื้นฐาน BCG Economy ในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป.
กัญศลักษณ์ รุ่งสุขประเสริฐ / นครราชสีมา