In Bangkok

กทม.จ่อยกเลิกผู้ค้าแยกสุรวงศ์-เจริญกรุง เล็งยุบรวมเข้ากับผู้ค้าหัวมุมถนนธนิยะ



กรุงเทพฯ-รองผู้ว่าฯจักกพันธุ์ ยกต้นแบบคัดแยกขยะอาคารสีลมเอจ จับตาค่าฝุ่น PM2.5 ไซต์ก่อสร้างคัลเจอร์จุฬา จ่อยกเลิกผู้ค้าแยกถนนสุรวงศ์ตัดถนนเจริญกรุง เล็งยุบรวมผู้ค้าถนนสุรวงศ์หัวมุมถนนธนิยะ ปั้นสวน 15 นาทีสวนรักษ์ภิรมย์สีลม 23 

(13 ธ.ค.66) เวลา 13.30 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตบางรัก ประกอบด้วย 

เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ อาคารสีลม เอจ พื้นที่ 49,921.5 ตารางเมตร ประชากร 10,000 คนต่อวัน เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2566 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1.ขยะอินทรีย์ จัดวางถังขยะทิ้งเศษอาหาร เพื่อรองรับขยะเศษอาหารจากผู้มาใช้บริการและร้านค้า โดยเขตฯ เข้ารับขยะเศษอาหาร 2.ขยะรีไซเคิล แยกประเภทขยะขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋อง ลังกระดาษ จัดเก็บแยกประเภท โดยทาง TBR และ SCG เข้ารับชื้อ เพื่อนำไปรีไซเคิล 3.ขยะทั่วไป ทิ้งลงถุงขยะมัดปากถุงให้เรียบร้อยนำไปทิ้งห้องพักขยะ โดยเขตฯ เข้าจัดเก็บขยะทุกวัน 4.ขยะอันตราย ขยะติดเชื้อ ของมีคมทิ้งลงขวดปิดฝาให้มิดชิด ใส่ถุงสีแดงติดชื่อร้านให้ชัดเจน นำไปทิ้งในถังขยะสีแดงที่จัดเตรียมไว้ โดยทางร้านค้าจะประสานให้บริษัทจัดเก็บเข้ารับขยะเอง สำหรับปริมาณขยะก่อนคัดแยกและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 3,000 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 1,000 กิโลกรัม/วัน ขยะรีไซเคิลหลังคัดแยก 1,000 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์หลังคัดแยก 20 กิโลกรัม/วัน

 

ติดตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โครงการ คัลเจอร์ จุฬา (Culture Chula) ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างอาคารพักอาศัย ความสูง 32 ชั้น ชั้นใต้ดิน 1 ชั้น จำนวน 1 อาคาร ผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามวิธีและเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตในการก่อสร้างตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2526) และแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 67 (พ.ศ.2563) และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กำชับผู้ประกอบการให้จัดทำบ่อล้างล้อรถบริเวณทางเข้าออกโครงการ เปิดเครื่องพ่นละอองน้ำในช่วงเวลาที่ทำการก่อสร้าง พร้อมทั้งมอบหมายให้เขตฯ จัดทำแผนปฏิบัติการตรวจสอบและควบคุมสถานประกอบการที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ตามมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 ควบคุมสถานประกอบการไม่ให้ปล่อยมลพิษในอากาศเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน 

ตรวจความเป็นระเบียบพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณแยกถนนสุรวงศ์ตัดถนนเจริญกรุง (แยกเดโช) เขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 39 จุด ผู้ค้ากลางวัน 603 ราย ผู้ค้ากลางคืน 104 ราย รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 707 ราย ได้แก่ 1.ถนนนเรศ (ซอยพระพุทธโอสถ) ผู้ค้ากลางวัน 16 ราย ผู้ค้ากลางคืน 2 ราย รวมผู้ค้า 18 ราย 2.ถนนนเรศ (ซอยน้อมจิตร) ผู้ค้ากลางวัน 1 ราย ผู้ค้ากลางคืน 1 ราย รวมผู้ค้า 2 ราย 3.ถนนนเรศ (ซอยสันติภาพ) ผู้ค้ากลางวัน 2 ราย ผู้ค้ากลางคืน 1 ราย รวมผู้ค้า 3 ราย 4.ถนนพระรามที่ 4 (หน้าวัดหัวลำโพง) ผู้ค้ากลางวัน 18 ราย ผู้ค้ากลางคืน 20 ราย รวมผู้ค้า 38 ราย  5.ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ซอย 1 ฝั่งขวา) ผู้ค้ากลางวัน 26 ราย ผู้ค้ากลางคืน 4 ราย รวมผู้ค้า 30 ราย 6.ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ซอย 1 ฝั่งซ้าย) ผู้ค้ากลางวัน 17 ราย ผู้ค้ากลางคืน 2 ราย รวมผู้ค้า 19 ราย 7.ซอยสันติภาพ 1 ผู้ค้ากลางวัน 7 ราย ผู้ค้ากลางคืน 6 ราย รวมผู้ค้า 13 ราย 8.ซอยเจริญกรุง 43 ผู้ค้ากลางวัน 9 ราย ผู้ค้ากลางคืน 42 ราย รวมผู้ค้า 13 ราย 9.ซอยสาทร 2 ผู้ค้ากลางวัน 4 ราย รวมผู้ค้า 4 ราย 10.ซอยสาทร 8 ผู้ค้ากลางวัน 8 ราย รวมผู้ค้า 8 ราย 11.ถนนศาลาแดง ผู้ค้ากลางวัน 27 ราย ผู้ค้ากลางคืน 22 ราย รวมผู้ค้า 49 ราย 12.ซอยศาลาแดง 2 ผู้ค้ากลางวัน 14 ราย รวมผู้ค้า 14 ราย 13.ซอยศาลาแดง 1 ผู้ค้ากลางวัน 15 ราย รวมผู้ค้า 15 ราย 14.ซอยสีลม 20 ผู้ค้ากลางวัน 113 ราย ผู้ค้ากลางคืน 10 ราย รวมผู้ค้า 123 ราย 15.ซอยสีลม 36 ผู้ค้ากลางวัน 3 ราย รวมผู้ค้า 3 ราย 16.ปากซอยมเหสักข์ ผู้ค้ากลางวัน 8 ราย รวมผู้ค้า 8 ราย 17.ซอยสีลม 26 ผู้ค้ากลางวัน 1 ราย รวมผู้ค้า 1 ราย 18.ซอยสีลม 30 ผู้ค้ากลางวัน 7 ราย รวมผู้ค้า 7 ราย 19.ซอยสีลม 22 ผู้ค้ากลางวัน 9 ราย รวมผู้ค้า 9 ราย 20.ซอยเจริญกรุง 47/3 ผู้ค้ากลางวัน 17 ราย รวมผู้ค้า 17 ราย 21.ซอยประดิษฐ์ ผู้ค้ากลางวัน 12 ราย รวมผู้ค้า 12 ราย 22.ซอยปราโมทย์ 3 ผู้ค้ากลางวัน 18 ราย รวมผู้ค้า 18 ราย 23.แยกถนนสุรวงศ์ตัดถนนเจริญกรุง ผู้ค้ากลางวัน 13 ราย รวมผู้ค้า 13 ราย 24.ซอยโทรคาเดโร ผู้ค้ากลางวัน 6 ราย รวมผู้ค้า 6 ราย 25.ซอยอนุมานราชธน ผู้ค้ากลางวัน 10 ราย รวมผู้ค้า 10 ราย 26.ถนนศรีเวียง ฝั่งซ้าย ผู้ค้ากลางวัน 22 ราย ผู้ค้ากลางคืน 3 ราย รวมผู้ค้า 25 ราย 27.ถนนศรีเวียง ฝั่งขวา ผู้ค้ากลางวัน 38 ราย รวมผู้ค้า 38 ราย 28.ถนนสาทรเหนือ BTS สุรศักดิ์ ผู้ค้ากลางวัน 9 ราย รวมผู้ค้า 9 ราย 29.ถนนเจริญกรุง ฝั่งตรงข้ามโรบินสัน ผู้ค้ากลางวัน 18 ราย ผู้ค้ากลางคืน 12 ราย รวมผู้ค้า 30 ราย 30.ถนนเจริญเวียง ผู้ค้ากลางวัน 15 ราย ผู้ค้ากลางคืน 6 ราย รวมผู้ค้า 21 ราย 31.ซอยสาทร 10 ผู้ค้ากลางวัน 13 ราย ผู้ค้ากลางคืน 2 ราย รวมผู้ค้า 15 ราย 32.ซอยสาทร 12 ผู้ค้ากลางวัน 4 ราย รวมผู้ค้า 4 ราย 33.ซอยสีลม 9 ผู้ค้ากลางวัน 15 ราย รวมผู้ค้า 15 ราย 34.ข้างสถานีตำรวจนครบาลยานนาวา ผู้ค้ากลางวัน 5 ราย รวมผู้ค้า 5 ราย 35.ถนนประมวล ผู้ค้ากลางวัน 11 ราย รวมผู้ค้า 11 ราย 36.ถนนปั้น ข้างวัดแขก ผู้ค้ากลางวัน 10 ราย รวมผู้ค้า 10 ราย 37.ถนนปั้น ผู้ค้ากลางวัน 13 ราย รวมผู้ค้า 13 ราย 38.ซอยสีลม 19 ผู้ค้ากลางวัน 7 ราย รวมผู้ค้า 7 ราย และ 39.ถนนสีลม (ขาเข้า) ผู้ค้ากลางวัน 42 ราย ผู้ค้ากลางคืน 9 ราย รวมผู้ค้า 51 ราย ซึ่งในปี 2567 เขตฯ จะดำเนินการยุบรวมหรือยกเลิกจุดทำการค้า จำนวน 4 จุด ได้แก่ 1.ถนนนเรศ (ซอยน้อมจิตร) ผู้ค้า 2 ราย 2.ซอยสาทร 2 ผู้ค้า 4 ราย 3.ซอยสีลม 26 ผู้ค้า 1 ราย 4.แยกถนนสุรวงศ์ตัดถนนเจริญกรุง ผู้ค้า 13 ราย 

จากนั้นได้ตรวจความเป็นระเบียบพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน บริเวณถนนสุรวงศ์ ตั้งแต่หัวมุมถนนธนิยะ ถึงซอยสุรวงศ์เซ็นเตอร์ เขตฯ มีพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 6 จุด ผู้ค้ากลางวัน 276 ราย ผู้ค้ากลางคืน 92 ราย รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 368 ราย ได้แก่ 1.ถนนพระรามที่ 4 ตั้งแต่ปากซอยจอมสมบูรณ์ ถึงปากซอยพระนคเรศ ผู้ค้ากลางวัน 9 ราย ผู้ค้ากลางคืน 18 ราย รวมผู้ค้า 27 ราย 2.ถนนสุรวงศ์ ตั้งแต่หัวมุมถนนธนิยะ ถึงซอยสุรวงศ์เซ็นเตอร์ ผู้ค้ากลางวัน 27 ราย ผู้ค้ากลางคืน 61 ราย รวมผู้ค้า 88 ราย 3.ถนนสีลม ตั้งแต่หัวมุมถนนมเหสักข์ ถึงปากซอยสีลม 12 ผู้ค้ากลางวัน 16 ราย 4.ซอยสีลม 9 ตั้งแต่ปากทางเข้าโรงเรียนกว่างเจ้า ถึงโครงการคอนโดอนิล สาทร 12 ผู้ค้ากลางวัน 17 ราย 5.ถนนคอนแวนต์ ตั้งแต่ปากซอยคอนแวนต์ ถึงหน้าโบสถ์ไคร้สตเชิช ผู้ค้ากลางวัน 89 ราย ผู้ค้ากลางคืน 13 ราย รวมผู้ค้า 102 ราย และ 6.ซอยสีลม 5 (ละลายทรัพย์) ตั้งแต่ปากซอยสีลม 5 ถึงท้ายซอยสีลม 5 ผู้ค้ากลางวัน 118 ราย ซึ่งคกก. ระดับเขต มีมติให้ยุบรวมผู้ค้าถนนสุรวงศ์ ตั้งแต่หัวมุมถนนธนิยะ ถึงปากทางเข้าโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน ช่วงกลางวัน ให้เหลือพื้นที่ทำการค้าความยาว 60 เมตร ส่วนถนนคอนแวนต์ คกก. ระดับเขต มีมติให้ยกเลิกฝั่งซ้าย ตั้งแต่อาคารพาร์คสีลม ถึงโรงเรียนเซ็นต์โยเซฟฯ 

ที่ผ่านมาเขตฯ ได้จัดทำ Hawker Center จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.ตลาดไอทีเอฟ ถนนสีลมซอย 10 รองรับผู้ค้าได้ 50 แผง ช่วงเวลาทำการค้า 07.00-15.00 น. 2.ศูนย์อาหารยมราช ซอยศาลาแดง 10 รองรับผู้ค้าได้ 40 แผง ช่วงเวลาทำการค้า 08.00-16.00 น. 3.ตลาดพัฒน์พงษ์ไนท์มาเก็ต รองรับผู้ค้าได้ 20 แผง ช่วงเวลาทำการค้า 16.00-02.00 น. โดยจัดเก็บค่าเช่าในอัตราที่ทางตลาดกำหนด ซึ่งการจัดระเบียบผู้ค้าในพื้นที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการจัดทำแผงค้าให้มีรูปแบบและลักษณะเดียวกัน รวมทั้งมอบร่มให้แก่ร้านค้าเพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อย 

ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้พูดคุยสร้างความเข้าใจกับผู้ค้าให้เห็นถึงความสำคัญของส่วนรวมในการจัดระเบียบพื้นที่ทางเท้า รวมถึงให้เขตฯ กำชับผู้ค้าไม่ให้ตั้งวางสินค้าหรืออุปกรณ์ทำการค้ารุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ทางเท้าหรือเกินแนวเส้นที่กำหนด ขอความร่วมมือผู้ค้าให้จัดเก็บอุปกรณ์ทำการค้าและทำความสะอาดพื้นที่หลังเลิกทำการค้าในแต่ละวัน นอกจากนี้ให้พิจารณายุบรวมหรือยกเลิกจุดที่มีผู้ค้าจำนวนน้อยราย โดยให้ย้ายมาทำการค้าในจุดที่เขตฯ กำหนด หรือจุดที่จัดทำเป็น Hawker Center ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เน้นจุดที่มีความต้องการของผู้บริโภค อยู่ใกล้กับพื้นที่ทำการค้าเดิม มีจุดล้างทำความสะอาดภาชนะ จุดคัดแยกขยะและกำจัดขยะรวม คำนึงถึงช่วงเวลาทำการค้าและความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ทั้งผู้ค้าและผู้ซื้อ ที่สำคัญผู้ค้าและประชาชนสามารถใช้ทางเท้าร่วมกันได้อย่างสะดวกและปลอดภัย 

สำรวจสวน 15 นาที สวนรักษ์ภิรมย์ ซอยสีลม 23 (ซอยวิจารณ์) ใต้ทางด่วนพิเศษศรีรัช (ตรงข้ามโรงพยาบาลเลิศสิน) สวนดังกล่าวสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ 2 ทาง คือ จากถนนสีลม เข้าซอยสีลม 23 และจากถนนศรีเวียง เข้าซอยสีลม 21 ที่ผ่านมาเขตฯ ได้พัฒนาพื้นที่สวน จากเดิมที่มีสภาพรกร้าง เป็นที่เก็บต้นไม้จากเคลื่อนย้ายต้นไม้ระหว่างปรับปรุงภูมิทัศน์ทางเท้าในพื้นที่ โดยดำเนินการปรับปรุงให้เป็นสวน 15 นาที ซ่อมแซมแนวคอกต้นไม้ พร้อมทั้งปูหญ้า ปลูกไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้ประดับ ปูแผ่นหินทางเดิน จัดวางม้านั่ง จัดทำป้ายชื่อสวน ให้มีความสวยงามและร่มรื่น ปัจจุบันเขตฯ มีสวน 15 นาที จำนวน 3 แห่ง สวนเดิมคือ สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ พื้นที่ 250 ตารางวา สวนใหม่ ได้แก่ สวนรักภิรมย์ ซอยสีลม 23 พื้นที่ 161 .75 ตารางวา กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และสวนริมถนนพระรามที่ 4 ตรอกละออ พื้นที่ 21.575 ตารางวา อยู่ระหว่างการออกแบบสวนและปรับปรุงพื้นที่ ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ พิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้พื้นที่จัดทำสวน 15 นาที การออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายในสวนให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและประชาชนที่เข้ามาใช้บริการพักผ่อนออกกำลังภายในสวน 

ในการนี้มี นางธราพร อำนวยสาร ผู้อำนวยการเขตบางรัก พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตบางรัก สำนักสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล