Authority & Harm
'วันนอร์'เปิด Mahabbah Ramadan อ้อมกอดรอมฎอนสู่เรือนจำพิเศษมีนบุรี
กรุงเทพฯ-วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2567 เวลา 17.00 นาฬิกา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “Mahabbah Ramadan อ้อมกอดแห่งรอมฎอนสู่เรือนจำ”พร้อมด้วยนายอรุณ บุญชม จุฬาราชมนตรี ร่วมเป็นเกียรติในพิธีดังกล่าว โดยมีพันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นางจิรภา สินธุนาวา รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และนายนนทรัตน์ หอมศรีประเสริฐ ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษมีนบุรี ให้การต้อนรับ
เนื่องในโอกาสแห่งเดือนรอมฎอนอันประเสริฐที่มุสลิมทั่วโลกร่วมปฏิบัติศาสนากิจกระทรวงยุติธรรมโดยกรมราชทัณฑ์ได้ตระหนักในคุณค่าและให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมให้เรือนจำ/ทัณฑสถาน ทั่วประเทศ นำหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังให้สอดคล้องกับความเชื่อในศาสนาของผู้ต้องขังแต่ละคนโดยผ่านการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังและวางแผนการปฏิบัติรายบุคคลอย่างเหมาะสมเรือนจำพิเศษมีนบุรี จึงได้จัดโครงการ “Mahabbah Ramadan อ้อมกอดแห่งรอมฎอนสู่เรือนจำ”ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาบุคลิกภาพ ฝึกความอดทนทั้งทางร่างกายและฝึกจิตใจของผู้ถือศีลอด ให้มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความเสียสละและรับผิดชอบต่อสังคม และที่สำคัญคือ การคืนคนดีมีคุณค่าสู่สังคมและจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหากภาคสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนให้กำลังใจและให้โอกาสแก่ผู้ต้องขังดังคำขวัญที่ว่า“ราชทัณฑ์แก้ไขคนไทยให้โอกาส” ซึ่งในโครงการฯ ได้เปิดโอกาสให้หน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไป ได้บริจาคปัจจัยต่าง ๆ ในกิจกรรมถือศีลอด เพื่อร่วมเป็นกำลังใจในการเสริมสร้างให้ผู้ต้องขังทำความดี
โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้ต้องขังที่นับถือศาสนาอิสลามเข้าร่วมโครงการ“Mahabbah Ramadan อ้อมกอดแห่งรอมฎอนสู่เรือนจำ” จำนวนทั้งสิ้น419คนเป็นชาย 393 คน เป็นหญิง 26 คนซึ่งโครงการดังกล่าว สอดคล้องกับนโยบายและแนวทางการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2567 ของกระทรวงยุติธรรม ด้านการพัฒนาระบบหรือโปรแกรมการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู และพัฒนาพฤตินิสัยผู้กระทำผิดที่หลากหลายและมีความเฉพาะเจาะจงในแต่ละกลุ่ม เช่นการจำแนกลักษณะจากความเชื่อ ความศรัทราในศาสนาของผู้ต้องขังแต่ละคน เพื่อส่งเสริมด้านการพัฒนาจิตใจ โดยการใช้ศาสนาเข้ามาปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เป็นไปในทางที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ตลอดจนกลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติสุข ไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก และนโยบาย 8 มิติ ยกระดับสร้างความเปลี่ยนแปลงของอธิบดีกรมราชทัณฑ์ นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ มิติที่ 4 พัฒนาพฤตินิสัย แก้ไขผู้ต้องขังให้ตรงกับปัญหาของการกระทำความผิด โดยเรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศ ได้ยึดถือและปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดต่อสังคมต่อไป