Travel Sport & Soft Power

กองทุนสื่อปลอดภัยจับมือว.นวัตกรรมมธ. วิจัยสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย



กรุงเทพฯ-กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ร่วมกับวิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์ และสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิจัยและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสื่อสำหรับเด็ก ปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี)” ภายใต้โครงการวิจัยการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านสื่อและภาควิชาการ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและจัดทำหลักสูตรการอบรมเบื้องต้นเพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการผลิตสื่อ สำหรับเด็กปฐมวัย ช่วงอายุ3-6 ปีที่มีความเหมาะสมกับพัฒนาการเด็กและสถานการณ์ และทดลองผลิต สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่เหมาะกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตลอดจนนำร่องการใช้หลักสูตรการอบรม เบื้องต้นสำหรับพัฒนาศักยภาพคนในการทำงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

นายธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาสื่อ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ดำเนินงานสนับสนุนการพัฒนาสื่อสำหรับเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการให้ทุน สนับสนุนและดำเนินงานเอง โดยโครงการดำเนินงานเองจะเป็นการทำงานหนุนเสริมเติมเต็มจากการให้ทุน ดังเช่นโครงการนี้เป็นการผลิตสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3-6 ปีประเภทรายการโทรทัศน์ตาม แนวทางการวิจัยร่วมกับสหวิชาชีพทั้งภาควิชาการและวิชาชีพ เราร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านเด็กและด้านสื่อ ซึ่งมุ่งมั่นให้เป็นรูปแบบการทำงานเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในการผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้น ไป ที่ทางวิชาการและการแพทย์ระบุว่าเด็กช่วงอายุดังกล่าวสามารถรับชมผ่านสื่อประเภทจอหรือโทรทัศน์ได้ และนำร่องการอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) ซึ่งเป็นความ ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาควิชาชีพและภาควิชาการ เพื่อให้ได้ทั้งเนื้อหาและรูปแบบที่เหมาะสมกับการ ผลิตงานจริงโดยโครงการดังกล่าวนี้ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2563 และถือว่าประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์จึงได้ดำเนินงานต่อเนื่องมาจนถึงระยะที่ 2 ในปี 2564 นี้ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้อาจารย์ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิจัยผู้รับผิดชอบการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ระบุว่า จากการ ศึกษาวิจัยที่ผ่านมาในปี 2563 ทำให้ได้แนวทางหลักสูตรการอบรมเบื้องต้นเพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3-6 ปี โดยมีการนำร่องจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อสร้างองค์ความรู้และความ เข้าใจการผลิตสื่อต้นแบบสำหรับเด็กปฐมวัย ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ (D) ชั้น 3 สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยเป็นวิทยากรเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้องค์ความรู้อย่างเข้มข้น โดยเฉพาะด้านเนื้อหา (Content) ที่ควรมุ่งสื่อสารเพื่อส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ไม่ว่าจะเป็น รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่นธิดา พิทักษ์สินสุข กรรมการบริหารสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย, ดร.แพง ชินพงศ์ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีเพื่อเด็กปฐมวัย และศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย        

ทั้งนี้จากการศึกษาทำให้ได้องค์ความรู้ในการผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย ช่วงอายุ 3-6 ปี ดังนี้ ด้านเนื้อหา (Content) ควรมุ่งสื่อสารเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ระดมความรู้ในการผลิตรายการเพื่อเด็ก ปฐมวัย อายุ 3-6 ปีจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านเด็กปฐมวัย ได้แก่ กุมารแพทย์ นักวิจัยและนักการศึกษาด้านเด็ก ผู้ผลิตสื่อเพื่อเด็กปฐมวัย และนักวิชาการด้านการผลิตสื่อเด็ก รวม 10 ท่าน ดังต่อไปนี้

·รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น

·ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริม EF และวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย

·ธิดา พิทักษ์สินสุข (ครูหวาน) กรรมการบริหารสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัย

·ดร.สมสุดา มัธยมจันทร์ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)

·ผศ.ดร. มรรยาท อัครจันทโชติ อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

·ผศ.ดร. กันตวรรณ มีสมสาร อาจารย์ประจำ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

·ครูชีวัน วิสาสะ ( ครูชีวัน) นักเขียน-นักวาดภาพประกอบนิทานเด็ก ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ

·ภัทรจารีย์ อัยศิริ (น้านิด สโมสรผึ้งน้อย) ผู้ผลิตรายการเด็ก ที่มประสบการณ์มามากกว่า 40 ปี

·วิไลภรณ์ จงกลวัฒนา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักรายการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (Thai PBS)

·วรินทร์เนตร เติมศิริกมล ผู้ผลิตรายการเด็กและสร้างภาพยนตร์สำหรับครอบครัว

โดยในการสนทนาดังกล่าวได้ร่วม สะท้อนเนื้อหา (Content) ที่ควรมุ่งสื่อสารเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ดังต่อไปนี้

1.  กระตุ้นจินตนาการ และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

2. พัฒนาทักษะทางสังคม (Social Skills)

3. นำเสนอเนื้อหาที่สะท้อนและเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของเด็กๆได้

4. ส่งเสริมการเข้าใจและภูมิใจในความเป็นตัวเอง (Self-Extreme)

5. สอดแทรกบริบทแวดล้อมให้เหมาะสมกับสังคมไทย

นอกจากนี้ทำให้ได้ข้อสรุปจากการศึกษาด้านการนำเสนอสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย ต้องคำนึงถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรทำ (Do and Don’t)  ดังนี้

สิ่งที่ควรทำ (DO)

1. สื่อสารประเด็นใจความสำคัญเพียงประเด็นเดียวและต้องไม่ยาวจนไป (ความยาวที่เหมาะสมคือ 2-10 นาที โดยจำนวนนาทีที่แนะนำที่เหมาะสมอาจจะคำนวณจากอายุได้คราวๆ เช่น 3 ขวบไม่ควรเกิน 3 นาที 4 ขวบไม่ควรเกิน 4 นาที เป็นต้น)

2. มีลักษณะเป็นสื่อที่สร้างการมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive) หรือเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (Two Ways Communications)

3. ต้องมีความสนุกนำ ซึ่งความสนุกนั้นมักเกิดจากการเปิดโอกาสให้เด็กได้มีความร่วมและมีปฎิสัมพันธ์          กับสื่อ

4. สื่อต้องสร้างการมีส่วนร่วม หรือการเรียนรู้ผ่านการเล่น (Learning Through Play) ไม่จงใจสอนจนเกินไป

5. กระตุ้นจินตนาการ

6. การนำเสนอควรจะต้องมีคาแรคเตอร์ที่เป็นเอกลักษณ์ น่าจดจำ

7. ตัวละครไม่เยอะ แต่ว่าคาแรคเตอร์ของแต่ละตัวขอให้ชัดเจน

8. เรื่องต้องเป็นเชิงประจักษ์ เป็นพฤติกรรมที่เห็นชัดเจน ไม่เป็นนามธรรม

9. เนื้อหาเรียบง่าย (Simplify) ไม่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกับสถานการณ์ที่เด็ก ๆ จะนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง

10. สามารถใช้และเพลงประกอบ เพื่อความน่าสนใจและเพื่อความสนุกสนาน และดนตรียังจะช่วยเสริมสร้างจินตนาการได้ด้วย และเป็นสื่อที่เข้าถึงเด็กๆได้ง่าย

11.ใช้แก่นการนำเสนอด้วย Positive Approach และใช้ถ้อยคำในเชิงบวกเพื่อเสริมพลังบวก

12.ใช้หลักการนำเสนอเน้นย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ ในใจความ หรือ ถ้อยคำสำคัญ (Keywords) ที่ต้องการสื่อสารให้ชัดเจน

13.จบแบบ Happy Ending  

สิ่งที่ไม่ควรทำ  (Don’t)

1. การสร้างตัวละครที่โหดร้าย หรือเป็นผู้ร้ายรุนแรงเกินไป

2.ระวังการใช้ภาพเสียงที่รุนแรง

3.อย่ายัดเยียดในสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็ก

4.  ระวังเรื่องเนื้อหาที่เด็กอาจจะเลียนแบบ ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายหรือผลเสียต่อตัวเด็กได้

5. อย่าพูดเยอะ Less Talk More Action ต้องเน้นที่การกระทำ มีบทพูด บทสนทนาให้น้อยแต่แสดงให้

เห็นเป็นการกระทำให้ชัดเจน

6. ไม่สื่อสารแบบ One-way Communications ไม่มองเด็กเป็น passive audience

7. ไม่แกล้งใช้ทำเสียงเลียนแบบเด็กๆ เพราะเด็กจะรู้สึกถูกล้อเลียน การใช้เสียงต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

สำหรับการทดลองผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ได้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัยในช่วง 3-6 ขวบ ที่มีเนื้อหาเน้นเสริมสร้างทักษะสังคมควบคู่กับศิลปะและดนตรี จำนวน 2 รายการ ได้แก่ รายการ Flowers Power ความยาว 5 นาที จำนวน 2 ตอน เป็นรายการสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีเนื้อหาด้านทักษะสังคมและศิลปะ และรายการ Sound to Song ความยาว 5 นาที จำนวน 2 ตอน เป็นรายการสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีเนื้อหาด้านทักษะสังคมและดนตรีผสานการเคลื่อนไหว จากนั้นได้มีการทดลองให้เด็กปฐมวัยได้รับชมเพื่อนำผลตอบรับมาพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งการทดลองผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อเด็กปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) แล้วนำไปให้เด็กกลุ่มเป้าหมายได้รับชม ทำให้ทราบผลตอบรับต่อรูปแบบและเนื้อหาของรายการ อันจะนำไปสู่การพัฒนาเนื้อหาและกลวิธีการนำเสนอเพื่อการพัฒนาการผลิตรายการสำหรับสำหรับเด็กปฐมวัยให้มีเหมาะสมกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในช่วงอายุ 3-6 ปี ในการศึกษาระยะต่อไป