Think In Truth

ตรวจแถวนับ๑'ว่าที่สว.200คน':วัดฝีมือ 'จัดตั้ง จัดตังค์'ของคนการเมือง..? โดย : ฅนข่าว24



เมื่อวันพุธที่ 26มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา นอกจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ได้ดำเนินการจัดการเลือกสมาชิกวุฒิสภา หรือสว.รอบไข้วแบบเลือกกันเองเป็นครั้งแรกในรอบสุดท้ายระดับประเทศแล้ว ยังมีข้อสังเกตการณ์ว่าเป็นการเลือก สว. ที่มาราธอนและซับซ้อนที่สุด

นอกจากนี้แล้วยังพบว่าจังหวัดที่มีผู้สมัครได้รับเลือกเป็นสว.มากที่สุด ได้แก่ บุรีรัมย์ ถึง14 คน และยังมีว่าที่ สว. จากหลายจังหวัดที่มีจำนวนมากเป็นอันดับต้น ๆ ที่พบว่าเป็นพื้นที่คะแนนเสียงของกลุ่มการเมืองหลายกลุ่ม(5 อันดับของจังหวัดที่มี สว. มากที่สุด ได้แก่บุรีรัมย์ 14 คน / กทม. 9 คน / พระนครศรีอยุธยาและสุรินทร์ จังหวัดละ 7 คน / สงขลา, สตูล และอ่างทอง จังหวัดละ 6 คน / นครศรีธรรมราช, เลย, ศรีสะเกษ, อำนาจเจริญ และอุทัยธานี จังหวัดละ 5 คน)

เมื่อดูผู้ที่เป็น สว. ตัวจริง ตามประกาศผลคะแนนพบว่า จ.บุรีรัมย์ มีผู้ผ่านเข้าเป็น สว. จากทั้งสิ้น 11 กลุ่ม ซึ่งมีทั้งอดีตข้าราชการระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย (กลุ่ม 1) และกระทรวงสาธารณสุข (กลุ่ม 4) อดีตนายตำรวจ (กลุ่ม 2) อดีตผู้อำนวยการโรงเรียน (กลุ่ม 17) ไปจนถึงเกษตรกร ผู้สื่อข่าว อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และบุคคลที่ระบุว่ามีอาชีพรับจ้าง

ทั้งนี้โดยกลุ่มที่1 กลุ่มบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง ได้แก่ นายมงคล สุระสัจจะ อดีตอธิบดีกรมการปกครอง,นายอภิชาติ งามกมล อดีตรองผู้ว่าราชการหลายจังหวัด / กลุ่ม 2 กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ / กลุ่ม 17 กลุ่มประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์ ได้แก่ นางประไม หอมเทียม อาชีพเกษตรกรรม เป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

สำหรับจังหวัดที่มี สว. มากเป็นอันดับต้น ๆ เหล่านี้ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ได้ตั้งข้อสังเกตต่อผลคะแนนในรอบเลือกกันเองในกลุ่มอาชีพ พบว่าผู้สมัครจาก จ.เลย, อ่างทอง และบุรีรัมย์ “กอดคอกันมาจากจังหวัดเดียวกันกลุ่มละ 2 คน และผลคะแนนรอบแรกก็ได้คะแนนนำห่าง โดยทั้งสองคนได้คะแนนเท่ากันเป๊ะ ๆ”

ผศ.ดร.ณัฐกร วิทิตานนท์ อาจารย์สำนักวิชาการเมืองและการปกครอง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ให้สัมภาษณ์ บีบีไทยว่า หากดูจากผลการคัดเลือก สว. ชุดล่าสุด จะพบว่าจำนวน สว. กระจุกตัวอยู่ในจังหวัดที่มีฐานคะแนนของพรรคภูมิใจไทย (ภท.) เช่น บุรีรัมย์ และพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เช่นใน จ.เลย

“อย่างบุรีรัมย์มี สว. ถึง 14 คน ซึ่งมันโดดกว่ากรุงเทพฯ โดดกว่าเชียงใหม่ โดดกว่าจังหวัดใหญ่ ๆ อย่างนครราชสีมาที่มีประชากรเยอะ ๆ หากพูดในภาษาเรามันก็คือลักษณะจัดตั้ง เป็นการจัดตั้งที่เข้มแข็งมากเพราะทำข้ามจังหวัดด้วย ไม่ใช่เพียงจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง แต่มันคือเครือข่ายระดับประเทศที่พร้อมจะถ่ายโอนคะแนนที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน ให้ไปหากันได้”

ทั้งนี้หากดูการกระจุกตัวของว่าที่ สว. ในจังหวัดต่าง ๆ แล้วนำมาเทียบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบแบ่งเขตในจังหวัดนั้น ก็จะทราบว่า สว.ที่ได้อาจมาจากพรรคการเมืองใด เช่นจ.อุทัยธานี ได้ สว. 5 คน และเป็นพื้นที่ของนายชาดา ไทยเศรษฐ์ รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย/  จ.อ่างทอง ซึ่งได้ สว. มากถึง 6 คน ก็เป็นพื้นที่ฐานเสียงของตระกูลการเมือง “ปริศนานันทกุล” จากพรรคภูมิใจไทยด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับ จ.เลย ที่ได้ สว. จำนวน 5 คน ซึ่ง ผศ.ดร.ณัฐกร มองว่าเป็นพื้นที่ของพรรคพลังประชารัฐ

“พูดง่าย ๆ ก็คือต้องปูพรมส่ง (ผู้สมัคร) ให้มากที่สุด เพราะเขาไม่สามารถบอกได้ว่าในรอบไขว้ เขาจะไปเจอกับใคร” ผศ.ดร.ณัฐกร กล่าว พร้อมกับยกตัวอย่าง จ.ศรีสะเกษ ที่ทำให้เห็นถึงการระดมผู้สมัครในช่วงวันท้าย ๆ“โดยจังหวัดอันดับหนึ่งที่คนสมัครมากที่สุดไม่ใช่กรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ แต่มันคือศรีสะเกษที่ยอดขึ้นมาแซงในวันท้าย ๆมันก็น่าจะเริ่มเห็นแล้วว่ามีกระบวนการที่ระดมคนลงสมัครในช่วงท้าย ๆ เพราะเริ่มมองสถานการณ์ออกแล้วว่ากลุ่มอาชีพไหนมีคนน้อย อำเภอไหนมีคนน้อย ทีนี้พอผ่านรอบอำเภอ มารอบจังหวัด พูดตรง ๆ เลยก็คือมันต้องจัดตั้งทั้งในแท่งอาชีพ และจัดตั้งข้ามกลุ่มอาชีพ”

ผศ.ดร.ณัฐกรวิเคราะห์ความพ่ายแพ้ของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีในรอบเลือกไขว้ระดับประเทศว่า เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าหากคะแนนผู้สนับสนุนแข็งแรงเพียงแค่ในกลุ่มของตัวเอง ก็ย่อมไปไม่ถึงฝั่งฝันกล่าวคือ พอมาถึงรอบไขว้ ปรากฏว่ามันต้องลุ้น แล้วกลุ่มนายสมชายจับสลากได้ไปอยู่ร่วมสายกับกลุ่มทำสวน สาธารณสุข เอ็นจีโอ และกลุ่มสื่อ มันก็เห็นอยู่ว่ากลุ่มสื่อและเอ็นจีโอไม่น่ามาเทคะแนนให้ ก็ทำให้เห็นว่าหากมีการจัดตั้งแค่ในแท่งหรือกลุ่มของตัวเองเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้เชื่อมกับกลุ่มจังหวัดอื่น มันก็อาจจะไม่พอขณะเดียวกัน หากดูการได้มาของ สว. จากพะเยาเพียงหนึ่งเดียว คือ นายขจรศักดิ์ ศรีวิราช ที่มีดีกรีเป็นถึงพ่อตาของ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ และ รมว.เกษตรและสหกรณ์ นั้น ท้ายที่สุดพบว่าผู้สมัคร สว. ในอำเภอดอกคำใต้ จ.พะเยา มีมากกว่า อ.เมือง ซึ่งเขามองว่ามันผิดปกติเพราะโดยทั่วไปคน อ.เมือง จะมีความตื่นตัวทางการเมืองมากกว่า

นอกจากนี้แล้วในบรรดารายชื่อของว่าที่ สว. ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีอดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่สอบตกในอดีต เช่นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ น.ส.มาเรีย เผ่าประทาน ระบุอาชีพฟาร์มโคเนื้อ อดีตกำนันและเคยเป็นผู้สมัคร ส.ส. เขต 3 ประจวบคีรีขันธ์ ของพรรคภูมิใจไทย มีคะแนนสูงเป็นอันดับ 3 ของกลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง หรือกลุ่ม 6

ที่ภูเก็ต นายนิพนธ์ เอกวานิช เคยดำรงตำแหน่งประธาน บ.ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด และเคยลงสมัคร ส.ส.เขต 1 จ.ภูเก็ต ของพรรคภูมิใจไทย ได้คะแนนมาเป็นอันดับ 1 ในกลุ่ม กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางขนาดย่อม หรือกลุ่ม 9 / ที่พัทลุง นายประเทือง มนตรี เคยลงสมัคร ส.ส. 2 สมัย แต่สอบตกที่สตูล (2544) และพัทลุงซึ่งลงในนามพรรคภูมิใจไทย (2566) ได้คะแนนมาเป็นอันดับ 3 ของกลุ่ม 15 กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการทุพพลภาพ ชาติพันธุ์

อีกทั้งยังมีอดีต ส.ส. รวมถึงคนที่มีนามสกุลเดียวกับนักการเมือง ที่ปรากฏชื่อเป็นว่าที่ สว. ด้วย เช่นนายโชคชัย กิตติธเนศวร ระบุอาชีพค้าขายวัตถุมงคล พระเครื่อง เป็นว่าที่ สว. ของกลุ่ม 19 กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เขาเป็นทายาทของวุฒิชัย กิตติธเนศวร อดีต ส.ส.นครนายก 5 สมัย พรรคภูมิใจไทย จ.นครนายก

ตระกูลกิตติธเนศวร ถือเป็นตระกูลการเมืองใหญ่ของนครนายก ซึ่งฐานที่มั่นของตระกูลนี้คือพรรคภูมิใจไทย โดยบุคคลสำคัญของเครือข่ายบ้านใหญ่กลุ่มนี้คือเสี่ยอ๋าหรือ นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร อดีต ส.ส. นครนายก หลายสมัย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก และอดีตประธานสภาจังหวัดนครนายก และยังมีคนอื่น ๆ อีก เช่น นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร อดีต ส.ส /นายปิยวัฒน์ กิตติธเนศวร หรือ เสี่ยอ๋อง บุตรของนายวุฒิชัย อดีตผู้สมัคร ส.ส.นครนายก ของภูมิใจไทย อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้ง 2566 สส.เพื่อไทย ล้มผู้สมัครจากภูมิใจไทย แชมป์เก่าหลายสมัยลงได้

ที่สุรินทร์ นายสุพัตรชัย เตียวเจริญโสภา เจ้าของกิจการขายคอมพิวเตอร์เป็นว่าที่ สว. จากกลุ่ม 13 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการสื่อสารการพัฒนานวัตกรรม เขามีนามสกุลเดียวกับนายธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา อดีต ส.ส.สุรินทร์ 3 สมัย ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว โดยสังกัดสุดท้ายคือพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)เป็นต้น

นอกจากนี้แล้วในรายชื่อของว่าที่ สว. ยังพบว่ามีบางส่วนที่ระบุประวัติและประสบการณ์ในสายอาชีพในเอกสารแนะนำตัวของ กกต. (สว. 3) ว่าเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. รวม 4 คน ใน 4 กลุ่มอาชีพโดยมาจากบุรีรัมย์ 2 คน ในกลุ่มประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์ และกลุ่มอื่น ๆ สตูล และน่าน จังหวัดละ 1 คน โดย อสม.สตูล ลงสมัครในกลุ่ม 9 กลุ่มอาชีพผู้ประกอบการขนาดย่อม

รายชื่อที่น่าสนใจได้แก่ อสม. จากบุรีรัมย์ นางประไม หอมเทียม อาชีพเกษตรกรรม ซึ่งระบุประวัติว่าเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และ อสม. ซึ่งเป็นหนึ่งใน อสม. อย่างน้อย 3 คน ที่ผ่านเข้ามาสู่รอบสุดท้ายของกลุ่ม 17 กลุ่มประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์โดยนางประไม เบียดแซงนักเคลื่อนไหวและกลุ่มคนทำงานภาคประชาสังคม ผ่านรอบเลือกกันเองในกลุ่มอาชีพ และทะลุรอบสุดท้ายของระดับประเทศ จนได้เป็นว่าที่ สว. ที่มีคะแนนสูงเป็นอันดับ 2 ของกลุ่ม 17 ด้วยคะแนน 57 คะแนนเมื่อเทียบกับคะแนนของผู้สมัคร สว. คนดังในกลุ่มนี้ อย่าง นายประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นครปฐม) และนางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กทม.) ว่าที่ สว. ลำดับที่ 8 และ 9 ในกลุ่มประชาสังคม พบว่าได้คะแนนไม่ถึงครึ่งหนึ่งของ อสม. หญิงจากบุรีรัมย์รายนี้ คือได้คนละ 22 คะแนน

กลุ่มอาชีพประชาสังคม ยังพบว่าที่ สว. ที่น่าสนใจอีกคนหนึ่ง คือ ว่าที่ สว. จากอุทัยธานี ที่ระบุอาชีพเป็นพนักงานทำงานช่วยเหลือด้านการแพทย์ และประสบการณ์ปฏิบัติงานมูลนิธิกู้ภัยสำนักงานใหญ่หนองฉางตั้งแต่ปี 2554 โดยได้คะแนน 52 คะแนน มาเป็นอันดับ 6 ของกลุ่มสำหรับกลุ่ม 17 เมื่อดูรายชื่อผู้สมัครที่ผ่านเข้าสู่การเลือกรอบไขว้ระดับประเทศ 40 คน พบว่า มี อสม. เข้ามาอย่างน้อย 3 คน และผ่านการเลือกจนเป็นว่าที่ สว. 1 คน

อย่างไรก็ตามในบรรดา 20 กลุ่มดังดล่าว ยังพบว่ามีว่าที่ สว.ที่ระบุประสบการณ์ที่น่าสนใจ อาทิ

ว่าที่ สว. จากบุรีรัมย์ กลุ่ม 7 (กลุ่มพนักงาน หรือลูกจ้างของบุคคล ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ) ระบุว่าประกอบอาชีพวิ่งน้ำและรับจ้าง / ว่าที่ สว. จากบุรีรัมย์ กลุ่ม 16 (กลุ่มศิลปวัฒนธรรม ดนตรีการแสดง บันเทิง นักกีฬา) เขียนว่ามีอาชีพรับจ้าง แต่ระบุประวัติบรรทัดเดียวว่าเป็นนักกีฬาฟุตบอลอาวุโส ปี 2527-2547 นอกจากนี้เขายังเป็นพลขับของนายชัย ชิดชอบ บิดาของนายเนวิน ชิดชอบ ในสมัยที่นายชัยดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร

ว่าที่ สว. จากสตูล กลุ่ม 18 (กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม) ระบุอาชีพเป็นพยาบาล มีประสบการณ์เป็นพิธีกรงานแต่งงาน งานเลี้ยงทั่วไป วิทยากรด้านแม่และเด็ก /ว่าที่ สว. จากอ่างทอง กลุ่ม 18 (กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม) ระบุอาชีพเป็นช่างตัดเย็บเสื้อผ้า มีประสบการณ์เป็นประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์ อ.ไชโย จ.อ่างทอง

ว่าที่ สว. จากอำนาจเจริญ 2 คน กลุ่ม 10 (กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการตามข้อ 9) ได้คะแนนสูงเป็นอันดับ 4 และ 5 โดยคนหนึ่งระบุอาชีพขายหมู ส่วนอีกรายระบุอาชีพขายก๋วยเตี๋ยวไก่มะระในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญมากว่า 12 ปี

ส่วนทางด้านเครือข่ายวงการกีฬา พบว่าที่ สว. อย่างน้อย 3 คน ได้แก่นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ผู้ร่วมก่อตั้งสโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ยูไนเต็ด (เชียงใหม่) / นายวิเชียร ชัยสถาพร ผู้ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลลำพูนวอริเออร์ (ลำพูน)และ นายนิทัศน์ อารีย์วงศ์สกุล ผู้จัดการทั่วไปสโมสรฟุตบอลอ่างทอง เอฟซี (อ่างทอง)

กล่าวโดยสรุปก็คือในกลุ่มที่ 3 (กลุ่มการศึกษา) ได้มีหลายชื่อที่น่าสนใจเช่น ดร.กมล รอดคล้าย อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก่อนหน้านี้ อยู่กับพรรคภูมิใจไทยโดยเป็น คณะทำงานยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา พรรคภูมิใจไทยและยังเป็นอดีตที่ปรึกษารมช.ศึกษาธิการ (กนกวรรณ วิลาวัลย์ อดีตรมช.ศึก ษาธิการ บ้านใหญ่จังหวัดปราจีนบุรี) และยังมีชื่อ ดร.อัษฎางค์ แสวงการ อดีตผู้สมัครขอนแก่น พรรคพลังประชารัฐ ในการเลือกตั้งปี 2566 ที่ผ่านมา โดยเป็นเจ้าของวิทยาลัยเทคโนโลยีขอนแก่นบริหารธุรกิจ จึงเข้ามาในสายการศึกษา เป็นต้น

กลุ่มที่ 7(กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้าง)ที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใช้แรงงาน มีนายชินโชติ แสงสังข์ จากสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย ส่วนรายชื่อน่านใจมี ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่เคยร่วมแถลงข่าวรณรงค์การลงสมัคร สว. กับกลุ่มนายพนัส ทัศนียานนท์ อดีต สว.ปี 2543 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ

กลุ่มที่ 8(กลุ่มอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน) มีนายจิระศักดิ์ ชูความดี อดีตรองอธิบดีกรมป่าไม้ อดีตหัวหน้าชุดพยัคฆ์ไพร (เจ้าของฉายามือปราบป่าไม้เบอร์ 1 ทีมงานเดียวกับ นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษรผอ.สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช) นายนพดล อินนา อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย อดีตเลขานุการรมว.ยุติธรรม (ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการพรรคไทยรักไทยยุคก่อตั้งกับนายทักษิณ ชินวัตร) 

อีกทั้งยังมีนายสัมพันธ์ ชัยวิเศษจินดา ที่ปรึกษาตลาดศรีเมือง ตลาดค้าส่งรายใหญ่ภาคกลาง เจ้าของคือนายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์ จากพรรคภูมิใจไทย ที่ปรึกษาด้านพลังงาน ผู้แทน บริษัท แอ็กโกรคอมเมอร์ส กรุ๊ป จำกัด รวมไปถึงยังมีนายนิรัตน์ อยู่ภักดี อดีต สว.ชัยภูมิ ปี 2543 และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บจก.รีเจ้นท์กรีน เพาเวอร์ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นายปฏิมา จีระแพทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ โดยในยุค คสช.เคยถูก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ออกคำสั่งคสช. ให้พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และยังมีนายวิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย โดยช่วงเป็น ผู้ว่าฯ หนองคายปี 2557 เคยถูกนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย (ขณะนั้น) โยกย้ายมาช่วยราชการกระทรวงมหาดไทย

กลุ่มที่ 9 (กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SME)มีนายวีรยุทธ สร้อยทอง นักนโยบายคณะก้าวหน้า ที่ทำนโยบาย “น้ำประปาดื่มได้” ให้กับคณะก้าวหน้า ที่มีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นประธาน ส่วนคนที่ได้คะแนนสูงสุดคือ นายนิพนธ์ เอกวานิช ประธานที่ปรึกษาบริษัท ภูเก็ต พัฒนาเมือง จำกัด -อดีตประธานกรรมการ บริษัท ภูเก็ต สมาร์ท บัส จำกัด(PKSB) บริษัทในเครือ ภูเก็ตพัฒนาเมือง(PKCD) นายพงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต กรรมการผู้จัดการบริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด ที่ทำธุรกิจ ผู้ผลิตและส่งออกยางพารา ยางธรรมชาติรายใหญ่ของประเทศไทย

กลุ่ม 11(กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว)มีนายกัมพล สุภาแพ่ง อดีต ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โดยในการเลือกตั้ง 2566 ได้ลงสมัคร ส.ส.แต่สอบตก ขณะที่รายชื่อน่าสนใจยังมีนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นายพิศูจน์รัตนวงศ์ นักธุรกิจใหญ่เกาะช้าง เจ้าของท่าเรือเฟอร์รี่เกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด และเจ้าของโรงแรมซีวิวรีสอร์ท อ.เกาะช้าง จ.ตราด นายณภพ ลายวิเศษกุล นักธุรกิจ เจ้าของโรงแรมลายทอง กรรมการหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี

กลุ่ม 13(กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม) มีนายพรเพิ่ม ทองศรี อดีตหัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยเป็นพี่ชายของนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทยจากพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับนายเนวิน ชิดชอบ อีกทั้งยังมีนายมานะ มหาสุวีระชัย อดีต ส.ส.ศรีษะเกษ ปัจจุบันมีกระแสข่าวว่ายังคงช่วยงานพรรคเพื่อไทยในพื้นที่อยู่หลังฉาก นายสรชาติ วิชยสุวรรณพรหม อดีต ส.ส.หนองบัวลำภู นายสุพัตรชัย เตียวเจริญโสภา เครือญาติกับนายธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา อดีต ส.ส.สุรินทร์ ผู้ล่วงลับ นาวาตรี วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ อดีตสมาชิก และที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคไทยรักไทย สมัยนายทักษิณ เป็นหัวหน้าพรรค เป็นอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย) ก่อนหน้านี้ เคยไปช่วยงานพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ตอนเลือกตั้งปี 2562 แต่โดนยุบพรรคกรณีเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ

กลุ่ม 16 (กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา)ในกลุ่มนี้คนที่ได้คะแนนสูงสุดคือ นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง (SNNP) นายวิเชียร ชัยสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) นายพิบูลย์อัฑฒ์ หฤหรรษ์ปราการ อดีตที่ปรึกษานายพิพัฒน์ รัชกิจประการ แกนนำพรรคภูมิใจไทย และรมว.แรงงาน สมัยเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์

กลุ่มที่ 17 (กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์) มี ดร.นิรุตติ สุทธินนท์ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงศึกษาธิการ สมัยนางตรีนุช เทียนทอง เป็น รมว.ศึกษาธิการ มีนางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ภรรยานายสมชาย นีละไพจิตร อดีตทนายความชื่อดังปัจจุบันหายสาบสูญ นายประภาส ปิ่นตบแต่ง นักวิชาการ และอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เคลื่อนไหวประเด็นของภาคประชาสังคม 

กลุ่มที่ 18 (กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม) มีสื่อมวลชนหลายคนติดเข้ารอบ เช่น ดร.นันทนานันทวโรภาส นักวิชาการสื่อ นายชิบ จิตนิยม ผู้ดำเนินรายการวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศชื่อดัง นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวประชาไท นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นักข่าวอาวุโสที่ทำข่าวในพื้นที่ภาคใต้และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น

กล่าวได้ว่าในการเลือกตั้งแบบเลือกกันเองครั้งแรกนี้มีบุคคลผู้มีชื่อเสียงที่เกิดพลิกล็อคพลาดนั่งเก้าอี้ สว. คือนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี และน้องเขยนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่ได้เพียง 10 คะแนน ไม่เพียงพอที่จะเป็น สว.ชุดใหม่ และไม่ติดแม้แต่ตัวสำรอง ทั้งที่ตอนแรกหลายฝ่ายคาดหมายว่าถูกวางตัวไว้เป็นประธานวุฒิสภา เช่นเดียวกับนายศรีเมือง เจริญศิริ อดีต รมว.ศึกษาธิการ ยุครัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน เคยมีบทบาทสูงในวุฒิสภาปี 2543 โดยว่ากันว่าเป็นมือประสานระหว่าง สว.กับรัฐบาลนายทักษิณ แต่กลับไม่ได้เป็น สว.ตัวจริง ติดแค่อันดับสำรองเท่านั้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีกระแสว่า จะวางตัวนายศรีเมือง เป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ประกบนายสมชาย ที่ถูกวางตัวเป็นประธานวุฒิสภา

อย่างไรก็ตามสำหรับรายชื่อว่าที่ สว. ทั้ง 200 คนจากรายงานผลการนับคะแนนการเลือก สว. ระดับประเทศในกลุ่มเดียวกันโดยผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 10 อันดับในกลุ่มเดียวกัน มีรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในแต่ละกลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 : กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง

พล.อ.เกรียงไกร  ศรีรักษ์  40 คะแนน/ นายวิสิษฎ์  พวงเพชร  36 คะแนน/ นายวีระศักดิ์  วิจิตร์แสงศรี  36 คะแนน/ นายมงคล  สุระสัจจะ  34 คะแนน / นายธวัช  สุระบาล 33 คะแนน/ พล.อ.สวัสดิ์ทัศนา  32 คะแนน/ นายวร  หินดี  31 คะแนน/ พล.ท.สุกิจ  ทั่งทอง  31 คะแนน/ นางจิตภา  มอญขันธ์  29 คะแนน /นายสุวัฒน์  สาระวัน  29 คะแนน

กลุ่มที่ 2 : กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 

พล.ต.ท.บุญจันทร์  นวลสาย  31 คะแนน / พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ  แสงเพชร  30 คะแนน / น.ส.วิยะดา  มุ่งผล  30 คะแนน / นายเศก  จุลเกษร  29 คะแนน / พล.ต.ต.สุนทร  ขวัญเพ็ชร  29 คะแนน / พ.ต.ท.สุริยา  บาราสัน  28 คะแนน / นายเติม  ถิ่นนา  27 คะแนน / ว่าที่ ร.ต.ท.ปราโมทย์  วันทองสังข์  27 คะแนน / นายสืบศักดิ์  แววแก้ว  27 คะแนน / ว่าที่ ร.ต.อ.อำพร  เรื่อศรีจันทร์  27 คะแนน

กลุ่มที่ 3 : กลุ่มการศึกษา

นายเพ็ญศักดิ์  แจ้งเหตุผล  35  คะแนน / นายสมทบ  ถีระพันธ์  31 คะแนน / นายสามารถ  รังสรรค์  31 คะแนน / นายโสภณ  ผาสุข  31 คะแนน / นายนิฟาริด  ระเด่นอาหมัด  30 คะแนน / นายบุญรักษ์  ยอดเพชร  30 คะแนน / นายวิวัฒน์  รุ้งแก้ว  30 คะแนน / นายสุเทพ  สังข์วิเศษ  30 คะแนน / นายอัษฎางค์  แสวงการ  30 คะแนน / นางจันทวี  จันดาศรี  29 คะแนน

กลุ่มที่ 4 : กลุ่มสาธารณสุข

นายประพนธ์  ตั้งศรีเกียรติกุล  34 คะแนน / นายสมบูรณ์  หนูนวล  33 คะแนน / นางนงลักษณ์  ก้านเขียว  29 คะแนน / นายบุญชอบ  สระสมทรัพย์  29 คะแนน / นางเพลินจิต  ขันแก้ว  29 คะแนน / นายฤชุ  แก้วลาย  29 คะแนน / นายสมนึก  สุชัยธนาวนิช  29 คะแนน / นายพรเทพ  ฤทธิ์ฤดี  28 คะแนน / นายมีศักดิ์  ญาณโกมุท  28 คะแนน / นายวันชัย  แข็งการเขตร  28 คะแนน

กลุ่มที่ 5 : กลุ่มอาชีพทำนา ปลูกพืชล้มลุก

นายสมชาย  นุ่มพูล  34 คะแนน / น.ส.อมร  ศรีบุญนาค  34 คะแนน / นางปวีณา  สาระรัมย์  33 คะแนน / นายสมศักดิ์  จันทร์แก้ว  33 คะแนน / นายสาลี  สิงห์คำ  33 คะแนน / นายพิมาย  คงทัน  32 คะแนน / นายทรงพล  พูลสวัสดิ์  31 คะแนน / นายสุชาติ  โกษาจันทร์  31 คะแนน / นายสุวิด  บุตรมาน  31 คะแนน / นานนันท์  ชาติสุทธิ์  30 คะแนน

กลุ่มที่ 6 : กลุ่มอาชีพทำสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง

นายยะโก๊ป  หีมละ  38 คะแนน / นายประสาท  ชอบไร่  33 คะแนน / นายอิสระ  บุญสองชั้น  33 คะแนน / นายณรงค์  ศิริหล้า  32 คะแนน / นายเตชสิทธิ์  ชูแก้ว  32 คะแนน / นายธนกร  ถาวรชินโชติ  32 คะแนน / นายมนตรี  บุญถนอม  32 คะแนน / นายวิรัตน์  ธรรมบำรุง  32 คะแนน / นายจรุณ  กลิ่นตลบ  31 คะแนน /น.ส.มาเรีย  เผ่าประทาน  31 คะแนน

กลุ่มที่ 7 : กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใช้แรงงาน

นายชวภณ  วัธนเวคิน 39 คะแนน / นายชินโชติ  แสงสังข์  35 คะแนน / น.ส.วิภาพร  ทองโสด  33 คะแนน / น.ส.เข็มรัตน์  สุรเมธีมาณพ  32 คะแนน / นายจตุพร  เรียงเงิน  31 คะแนน / นายประกาสิทธิ์  พลซา  31 คะแนน / นางสมพร  วรรณชาติ  31 คะแนน / นายแสงเทียน  ฐีระแก้ว  30 คะแนน / นายประณต  สมัครการ  29 คะแนน / น.ส.กิจติญา  ชูนาคา  27 คะแนน

กลุ่มที่ 8 : กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน

นายไพบูลย์  ฌะบุตรจอม  50 คะแนน / นายวิรัตน์  ลิ้มสุวัฒน์  36 คะแนน / นายนิรัตน์  อยู่ภักดี  33 คะแนน / นายชีวภาพ ชีวะธรรม  32 คะแนน / นายจิระศักดิ์  ชูความดี  30 คะแนน / นายสัมพันธ์  ชัยวิเศษจินดา  30 คะแนน / นายอภชา  เศรษฐวราธร  29 คะแนน / น.ส.พิมพ์พิกา  โกษาจันทร์  28 คะแนน / นายเทียนศักดิ์  สัมพันธ์ศิริกุล  27 คะแนน / นายประเสริฐศักดิ์  จันทร์ทองอยู่  25 คะแนน

กลุ่มที่ 9 : กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

นายชัยธัช  เพราะสุนทร  35 คะแนน / นายเจริญศักดิ์  ชำรัมย์  34 คะแนน / นายจีระสิทธิ์  จันทสิทธิ์  33 คะแนน / นายนิพนธ์  เอกวานิช  30 คะแนน / นายพิชาญ  พรศิริประทาน  28 คะแนน /นาสุมิตรา  จารุกำเนิดกนก  28 คะแนน / นางกัณญานีย์  ทองปั้น  27 คะแนน / นายพิเชษฐ์  มีศรี  27 คะแนน / นางวรรษมนต์  คุณเสน  27 คะแนน / นางสมศรี  อุรามา  27 คะแนน

กลุ่มที่ 10 : กลุ่มผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการตาม (๙)

นายโสภณ  มะโนมะยา  38 คะแนน / พ.ต.ท.สง่า  ส่งมหาชัย  32 คะแนน / นายบุญเลี้ยง  บุตรดา  31 คะแนน / นายรุจิภาส  มีกุศล  31 คะแนน / นายสมพาน  พละศักดิ์  31 คะแนน / น.ส.ชนม์ฤทัย  ธีระบุตรวงศ์กุล  30 คะแนน / นายชัยยันต์  พรหมดี  30 คะแนน / นายนิทัศน์  อารีย์วงศ์สกุล  30 คะแนน / นายสุนทร  เชาว์กิจค้า  29 คะแนน / นางแดง  กองมา  28 คะแนน

กลุ่มที่ 11 : กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว อันได้แก่ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบกิจการหรือพนักงานโรงแรม

นายพิศูจน์  รัตนวงศ์  36 คะแนน / นายวุฒิชาติ  กัลยาณมิตร  35 คะแนน / นายกัมพล  สุภาแพ่ง  32 คะแนน / นายอัครวินท์  ขำขุด  32 คะแนน / นายสุวิทย์  ขาวดี  31 คะแนน / น.ส.ภาวนา  ว่องอมรนิธิ  30 คะแนน / นายนิธิ  สืบพงษ์สังข์  29 คะแนน / นายพิสิษฐ์  อภิวัฒนาพงศ์  29 คะแนน / นายภูวิศ  ผดุงโกเม็ด  29 คะแนน / นายสุวิทย์  ศรีบุรินทร์  28 คะแนน

กลุ่มที่ 12 : กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม

นายสุชัย  พงษ์พากเพียร  26 คะแนน / นายณรงค์  จิตราช  23 คะแนน / น.ส.ปุณณภา  จินดาพงษ์  23 คะแนน / นายพละวัต  ตันศิริ  23 คะแนน / นางธารนี  ปรีดาสันต์  22 คะแนน / นายยอด  โพธิ์มี  22 คะแนน / นางรจนา  เพิ่มพูล  22 คะแนน / นางวราภัสร์  ไพพรรณรัตน์  22 คะแนน / นางสุรางค์  ยวงเกตุ  22 คะแนน / นางจิราพร  คงชุม  21 คะแนน

กลุ่มที่ 13 : กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม

นายธัชชญาณ์ณัช  เจียรธนัทกานนท์  45 คะแนน / นายนพดล  พริ้งสกุล  28 คะแนน / นางเสาวณิต  รัตนรวมการ  27 คะแนน / พ.ต.นฤต  รัตนพิเชฎฐชัย  25 คะแนน / นายสรชาติ  วิชย  สุวรรณพรหม  25 คะแนน / นายขวัญชัย  แสนหิรัณย์  24 คะแนน / นายพรเพิ่ม  ทองศรี  24 คะแนน / นายวรวิทย์  กิติกุศล  24 คะแนน /นายสุพัตรชัย  เตียวเจริญโสภา  24 คะแนน / นายกัมพล  ทองชิว  23 คะแนน

กลุ่มที่ 14 : กลุ่มสตรี

นางกุลรัตน์  เนียมประเสริฐ  32 คะแนน / นางจุฑารัตน์  นิลเปรม  32 คะแนน / นางอจลา  ณ  ระนอง  32 คะแนน / นางเจียระนัย  ตั้งกีรติ  30 คะแนน / นางมยุรี  โพธิแสน  30 คะแนน / น.ส.จารุณี  ฤกษ์ปราณี  29 คะแนน / น.ส.อัจฉรพรรณ  หอมรส  29 คะแนน / น.ส.อรทัย  ศิริหล้า  28 คะแนน / นางชุติมา  แสงโสดา  27 คะแนน / น.ส.ณัฐธภา  ขำศรี  27 คะแนน

กลุ่มที่ 15 : กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น

นายกฤษณุ  เหลืองพิบูลกิจ  32 คะแนน / นายสมหมาย  ศรีจันทร์  32 คะแนน / นายกิตติพันธ์  อนันตกูลจิรโชติ  30 คะแนน / นายขวัญชัย  บุญเพ็ชร  30 คะแนน / นายธนภัทร  ตวงวิไล  30 คะแนน / นายนิเวศ  พันธ์เจริญวรกุล  30 คะแนน / นายสมดุลย์  บุญไชย  29 คะแนน / นายประเทือง  มนตรี  28 คะแนน / นางลดาวัลย์  แสงจันทร์  28 คะแนน / นายสมิง  แจ่มปัญญา  28 คะแนน

กลุ่มที่ 16 : กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา

นายวิเชียร  ชัยสถาพร  35 คะแนน / นายพิบูลย์อัฑฒ์  หฤหรรษ์ปราการ  34 คะแนน / นายนฤพล  สุคนธชาติ  33 คะแนน / นายวิวรรธน์  ไกรพิสิทธิ์กุล  33 คะแนน / นายคอย  ผดุงโกเม็ด  31 คะแนน / นายปราณีต  เกรัมย์  31 คะแนน / นายพัฒน  ปิ่นวิเศษ  31 คะแนน / นายอะมัด  อายุเคน  31 คะแนน / นายสุวิช  จำปานนท์  30 คะแนน / นายเสน่ห์  บุญกล่ำ  30 คะแนน

กลุ่มที่ 17 : กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์

นายสากล  ภูศิริกุล  49 คะแนน / นายนิรุตติ  สุทธินันท์  34 คะแนน / นายภาณุพงษ์  เต็งวงษ์วัฒนะ  32 คะแนน / น.ส.สายฝน  กองแก้ว  32 คะแนน / นายชาญชัย  ไชยพิศ  31 คะแนน /นายศุภโชค  ศาลากิจ  31 คะแนน / นางประไม  หอมเทียน  29 คะแนน / นายสิทธิพงศ์  สีบุรินทร์  29 คะแนน /น.ส.คนึงนิจ  สินธิพงษ์  27 คะแนน / นายวัฒนา  ธนาศักดิ์เจริญ  27 คะแนน

กลุ่มที่ 18 : กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม

นายไชยยงค์  มณีรุ่งสกุล  42 คะแนน / นายสุทนต์  กล้าการขาย  37 คะแนน / นายจำลอง  อนันตสุข  35 คะแนน / น.ส.กิตติยา  พันธ์ด้วง  31 คะแนน / นางอารีย์  บรรจงธุระการ  30 คะแนน / นายศุภชัย  กิตติภูติกุล  29 คะแนน / นายอุบล  กลิ่นประทุม  29 คะแนน / น.ส.คอดียะฮ์  ทรงงาม  28 คะแนน / นายธีมดี  ภาคย์ธนชิต  27 คะแนน / นายชัยณรงค์  พุทซาคำ  26 คะแนน

กลุ่มที่ 19 : กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ อาชีพอิสระ

นายโชคชัย  กิตตธเนศวร  40 คะแนน / นายขจรศักดิ์  ศรีวิราช  39 คะแนน / นายสมชาย  เล่?